นครพนม-ท่าทรายในลำน้ำโขง ใบอนุญาตล่าช้า ชี้เกิดจากตั้งหน่วยงานซ้ำซ้อน ผู้ประกอบการเสียประโยชน์ เปิดช่องฉวยโอกาสจากบางแห่ง

นครพนม-ท่าทรายในลำน้ำโขง ใบอนุญาตล่าช้า ชี้เกิดจากตั้งหน่วยงานซ้ำซ้อน ผู้ประกอบการเสียประโยชน์ เปิดช่องฉวยโอกาสจากบางแห่ง

DCIM100MEDIADJI_0239.JPG


*****
นายวัชรินทร์ เจียวิริยบุญญา รองประธานสภาอุตสาหกรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ งานการค้าชายแดนอีสานตอนบน เปิดเผยว่า การประกอบกิจการหินทรายในลำน้ำโขง พื้นที่ จ.นครพนม ถือเป็นการสร้างรายได้เชิงธุรกิจนำเข้า โดยรัฐมีรายได้จากการเก็บภาษี รวมถึงลดต้นทุนการก่อสร้าง ทำให้ประชาชนทั่วไป และ ธุรกิจก่อสร้าง สามารถซื้อหินทรายได้ในต้นทุนต่ำ แทนการซื้อมาจากต่างจังหวัด ที่ต้องบวกต้นทุนค่าขนส่ง ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างสูงขึ้น
โดยการประกอบธุรกิจหินทรายในแม่น้ำโขง เส้นแบ่งพรมแดนระหว่างไทยกับลาว จะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 1.นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป.ลาว) ในส่วนนี้มีศุลกากรรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 86 วรรค 2 เกี่ยวกับการขออนุญาตนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน มีด่านศุลกากรเป็นเจ้าภาพดูแล รวมถึงหน่วยงานความมั่นคง และ 2.ในมาตรา 9 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการขออนุญาตให้ดูดทราย พ.ศ.2546 โดยเป็นการดูดทรายในราชอาณาจักร แต่จะต้องไม่เป็นพื้นที่มีเขื่อนป้องกันตลิ่ง มีหน่วยงานที่ดินเป็นเจ้าภาพดูแล
ปัจจุบันหลังจาก จ.นครพนม ได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาตรวจสอบกำกับดูแล ผู้ประกอบกิจการดูดหินทรายในแม่น้ำโขง รวม 17 หน่วยงาน ส่วนตัวถือเป็นการตั้งซ้ำซ้อน สิ้นเปลืองงบประมาณ ในการตรวจสอบดูแล เพราะมีงบประมาณจำกัด สุดท้ายภาระทั้งหมดจะตกไปยังผู้ประกอบการ เกิดปัญหาเรียกรับเงินจากบางหน่วยงาน อ้างเป็นค่าวิชาเสนอทางลัด ลดขั้นตอน อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ
รองประธานสภาอุตสาหกรรมอีสาน กล่าวอีกว่า ห้วงระยะเวลาดูดหินทราย มีประมาณ 8 เดือน ที่สามารถดำเนินกิจการได้ และต้องพักอีก 4 เดือน เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ โดยมีระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 30 มิถุนายน ของทุกปี แต่พอถึงเวลาเริ่มฤดูกาล กลับเจอปัญหาบางหน่วยงานยื้อเวลา ไม่ทำงานเชิงรุก อ้างรอขั้นตอนตรวจสอบเอกสาร หรือขั้นตอนการอนุญาต ทำให้ผู้ประกอบกิจการเสียประโยชน์ แทนที่จะทำงานตามห้วงเวลาที่กำหนด เพราะเอกชนต้องลงทุน ไม่ได้กินเงินเดือนเหมือนภาครัฐ ซ้ำร้ายกลายเป็นช่องว่าง ให้เจ้าหน้าที่รัฐบางคนฉวยโอกาสเรียกรับ โดยเสนอขั้นตอนทางลัดให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต
ทางออกที่ดีคือ หาหน่วยงานให้เป็นเจ้าภาพหลัก มีอำนาจเบ็ดเสร็จ บริการแบบวัน สต็อป เซอร์วิส (ONE STOP SERVICE) ตัดหน่วยงานซ้ำซ้อน ปัญหาอื่นๆจะได้จบ ในฐานะตัวแทนภาคเอกชน ตนติดตามตรวจสอบ ศึกษาข้อมูลมาหลายปี มั่นใจว่าการประกอบกิจการหินทรายในลำน้ำโขง มีผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งด้านเศรษฐกิจและระบบนิเวศน์
ทั้งนี้ มาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินฉบับเก่า ระบุว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตดูดทราย ต้องอยู่ห่างจากชายฝั่งของไทยอย่างน้อย 120 เมตรแต่ห้ามออกจากฝั่งเกิน 160 เมตร แต่หากเป็นกฎหมายฉบับใหม่ อนุญาตให้ดูดทรายนอกชายฝั่งไทยได้ไม่เกิน 200 เมตร
ส่วนประเภทนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน (สปป.ลาว) เป็นไปตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 86 วรรค 2 เกี่ยวกับการขออนุญาตนำเข้า โดยการประกอบกิจการทั้ง 2 ประเภท ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตจากทางคณะกรรมการระดับจังหวัดทำการตรวจสอบก่อนออกใบอนุญาต โดยมีอายุครั้งละ 1 ปี แต่ดำเนินกิจการได้จริงๆเพียง 8 เดือนเท่านั้น
//ภาพ-ข่าว//พงศ์สุคนธ์ คุณธรรมมงคล//นครพนม (061-2838566)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *