ลำปาง–อบจ.ลำปาง สนับสนุน”ขบวนจุ่มพระ”จัดขบวนมหาสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ ฉลองโอกาสที่ ยูเนสโก้ ประกาศขึ้นทะเบียน “ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกภูมิปัญญาฯ

ลำปาง–อบจ.ลำปาง สนับสนุน”ขบวนจุ่มพระ”จัดขบวนมหาสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ ฉลองโอกาสที่ ยูเนสโก้ ประกาศขึ้นทะเบียน “ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกภูมิปัญญาฯ

 

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2567 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในปี 2567 นี้ ในโอกาสที่ ยูเนสโก้ ประกาศขึ้นทะเบียน “ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ อบจ.ลำปาง จึงร่วมเฉลิมฉลอง โดยจัดขบวนมหาสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ หรือเรียกกันว่า

“ขบวนจุมพระ” ในวันที่ 13 เม.ย.2567 นี้ ซึ่งจะเริ่มขบวนจากสถานีรถไฟ นครลำปาง ผ่านถนนประสานไมตรี ถนนฉัตรชัย ห้าแยกหอนาฬิกา ถนนบุญวาทย์ ไปสิ้นสุดที่ลานหน้ามิวเซียมลำปาง อ.เมืองลำปาง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปไปพร้อมกัน

น.ส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายก อบจ.ลำปาง เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง เข้าร่วมบูรณาการจัดงานสงกรานต์มาตลอดทุกปี เช่น ในปี 2564 ได้สนับสนุนการจัดข่วงแก้วเวียงละกอน
ปี 2565 สนับสนุนการแสดงพิธีเปิด ปี 2566 ที่ผ่านมาได้จัดลานข่วงผญา สืบสานมรดกภูมิปัญญาล้านนาไทย ปี 2567 นี้ สนับสนุนขบวนมหาสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ หรือเรียกกันว่า “ขบวนจุมพระ” ในวันที่ 13 เม.ย.2567 นี้ เรามีความตั้งใจจัดรูปขบวนให้มีความสวยงาม ตระการตา ให้เป็นหนึ่งใน Soft Power ที่จัดอยู่ในประเภท F – Festival ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้แวะเวียนเข้ามาเที่ยวชม โดยยังคงยึดแบบเบ้าที่ดีงามของลำปาง-ล้านนา ผสมผสานงานประเพณีสงกรานต์ของภาคกลาง ด้วยการจัดริ้วขบวนแห่ที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 200 ชีวิต

แบ่งขบวนรถออกเป็นสามประเภท ได้แก่ 1. ขบวนนักษัตร ที่ประกอบด้วยขุนสังขานต์ หม้อสังขานต์ ในแบบล้านนา นางสงกรานต์ และนางประจำปีในแบบของสงกรานต์ภาคกลาง ด้วยขบวนรถที่ยิ่งใหญ่ มีวงมโหฬี ต๊กเส้ง ขบวนฟ้อนเล็บ และวงซอพื้นบ้าน ร่วมอยู่ในขบวน 2. ขบวนแห่อัญเชิญพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า พระพุทธรูป และพระเกจิอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เป็นสิริมงคลในวันปีใหม่เมือง รวมทั้งจัดขบวนเครื่องสักการะตามแบบเบ้าชาวละกอร เช่น ขบวนตุง หมากสุ่ม หมากเบ็ง 3. ขบวนมหาสงกรานต์ ที่แสดงถึงความรุ่มรวยในด้านศิลปวัฒนธรรมของคนเมือง คนไทย ที่นิยมความรื่นเริงสนุกสนาน ผ่านการแสดงทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งกลองยาว กลองต๊กเส้ง ซอ วงป้าด เป็นต้น

“นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมรักษ

ารีตรอยของชาวลกอร การเสริมสร้างสิริมงคลในป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองแล้ว องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง ยังหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างรอยยิ้มแก่ประชาชน และทำให้ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองของลำปางกลายเป็นจุดหมายใหม่ของนักท่องเที่ยว ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นลำปางต่อไป” น.ส.ตวงรัตน์ กล่าว.

วินัย/ลำปาง รายงาน /แฟ้มภาพ อบจ.ลำปาง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *