#ไฟฟ้าหงสาสนับสนุน50,000 บาทในงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร)

#ไฟฟ้าหงสาสนับสนุน50,000 บาทในงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร)ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566
บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด นำโดยนายสรรเพชญ์ ปุละ หัวหน้าสำนักงานน่าน พร้อมด้วยฝ่ายสื่อสารองค์กรสำนักงานน่าน ร่วมพิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 23 – 24 กันยายน 2566 ณ บริเวณแม่น้ำน่าน (สนามเทศบาลเมืองน่าน) เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ จัดขึ้นโดย จังหวัดน่าน ร่วมกับเทศบาลเมืองน่าน และสมาคมเรือแข่งจังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน โดยมี นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน ผู้นำชุมชนในจังหวัดน่าน พี่น้องชาวเรือและประชาชนทั่วไปมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยการแข่งเรือเมืองน่าน ยังเป็นต้นแบบของการแข่งเรือปลอดเหล้า-เบียร์ และการแข่งเรือในครั้งนี้ ได้จัดให้มีการตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน และการเว้นระยะห่างตามแนวทางการปฏิบัติ (New Normal) ในสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 และเหนือสิ่งอื่นใด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์สำหรับพสกนิกรชาวจังหวัดน่าน ได้รับพระราชทานถ้วย จำนวน 5 ใบ จากองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำมาซึ่งการแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ จำนวน 5 ประเภท ในครั้งนี้ ซึ่งงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และร่วมสืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒธรรม และประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัดน่าน ที่มีมาอย่างยาวนานให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน ให้เป็นที่รู้จักอีกทางหนึ่งด้วย และเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชนชาวจังหวัดน่าน สำหรับประเภทการแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1)ประเภทเรือใหญ่ ฝีพายตั้งแต่ 48 – 55 มีจำนวน 8 ลำ 2)ประเภทเรือกลาง ฝีพายตั้งแต่ 35 – 40 คน มีจำนวน 6 ลำ 3)ประเภทเรือเล็ก ฝีพายตั้งแต่ 25 – 30 คน มีจำนวน 9 ลำ 4)ประเภทเรือแบบโบราณ ฝีพายตั้งแต่ 25 – 35 คน มีจำนวน 4 ลำ 5)ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน ฝีพายตั้งแต่ 30 – 38 คน มีจำนวน 10 ลำ รวมมีเรือเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 37 ลำ สำหรับงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ (ทานสลากภัตวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2566ทางบริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด ได้ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ จำนวน 50,000 บาท#

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *