#เปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่านชิงถ้วยพระราชทานฯ(ทานสลากภัตวัดพระธาตุข้างค้ำ วรวิหาร)

#เปิดแล้วอย่างยิ่งใหญ่งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่านชิงถ้วยพระราชทานฯ(ทานสลากภัตวัดพระธาตุข้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2566

วันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น. ณ บริเวณกองอำนวยการแข่งเรือ (ปะรำพิธี) นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน
รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พิธีเปิดงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน ชิงถ้วยพระราชทานฯ(ทานสลากภัตวัดพระธาตุข้างค้ำ วรวิหาร) ประจำปี 2566 มีนายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่านกล่าวรายงาน
งานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน เป็นประเพณีที่เก่าแก่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล ถือได้ว่างานประเพณีแข่งเรือ แสดงถึงวิถีชีวิตจิตใจของชาวจังหวัดน่าน ที่ผูกพันกับแม่น้ำน่านมาแต่ในอดีตโดยแท้จริงโดยเฉพาะเรือแข่งของจังหวัดน่าน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสวยงาม และแตกต่างจากเรือแข่งของจังหวัดอื่นๆ คือ หัวเรือเป็นรูปพญานาคชูคอสง่าอ้าปากเขี้ยวงอโง้งงอนสูง ลำตัวสลักลายสวยงาม อย่างวิจิตรพิสดารการแข่งเรือเมืองน่าน ยังเป็นต้นแบบของการแข่งเรือปลอดเหล้า-เบียร์ โดยการจัดแข่งเรือในครั้งนี้ ได้จัดให้มีการตรวจคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน และการเว้นระยะห่างตามแนวทางการปฏิบัติ (New Normalในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID ๑๙ และเหนือสิ่งอื่นใด ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นอเนกอนันต์สำหรับพสกนิกรชาวจังหวัดน่าน ได้รับพระราชทานถ้วย สำหรับรางวัลชนะเลิศการแข่งเรือ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้ง๕ ประเภท ได้แก่
1. ประเภทเรือใหญ่ ฝีพายตั้งแต่48-55คน
2. ประเภทเรือกลาง ฝีพายตั้งแต่ 35 – 40 คน
3. ประเภทเรือเล็ก ฝีพายตั้งแต่ 25 – 30 คน
4. ประเภทเรือแบบโบราณ ฝีพายตั้งแต่ 25 – 35คน
5. ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน ฝีพายตั้งแต่ 30 – 38 คน
สำหรับในปี 2566 นี้ มีเรือเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 37 แยกเป็น5 ประเภท คือ
1. ประเภทเรือใหญ่ จำนวน 8 ลำ
2. ประเภทเรือกลาง จำนวน 6 ลำ
3. ประเภทเรือเล็ก จำนวน 9ลำ
4. ประเภทเรือแบบโบราณ จำนวน 4 ลำ
5. ประเภทเรือเอกลักษณ์น่าน จำนวน 10 ลำ/ภาพข่าว/พ.อ.พยอม บุญทร/บุญยงค์ สดสอาด รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *