ปายคลีนแอร์ (Pai Clean Air) อากาศสะอาด สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปายคลีนแอร์ (Pai Clean Air)
อากาศสะอาด สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

27 มกราคม 2567 ….
นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธานเปิดงานโครงการ Pai Clean Air อากาศสะอาด สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งงานดังกล่าวเป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแม่ฮ่องสอน ตำรวจท่องเที่ยวแม่ฮ่องสอน สาธารณสุขอำเภอปาย เทศบาลตำบลปาย องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงใต้ สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวปาย โรงเรียนปายวิทยาคาร หอการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน มูลนิธิปายซิดลิงส์ ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างการรับรู้ด้านการลดปัญหาหมอกควัน กระตุ้นการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีกิจกรรมหลักๆ ดังนี้
– กิจกรรมแนะนำ Application : ZERO CARBON ในการวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมท่องเที่ยว
– กิจกรรมแนะนำ มาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (TAT STAR : Sustainable Tourism Acceleration Rating)
– กิจกรรมสำรวจดินและปุ๋ยผ่านประสาทสัมผัส ประโยชน์ของดิน โดย มูลนิธิ Pai Seedlings
– กิจกรรมสาธิตการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้
– กิจกรรมเสวนา : Pai Clean Air อากาศสะอาด สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
– กิจกรรมปายไม่เผา เราทำปุ๋ย

นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จากปัญหาหมอกควันและฝุ่น P.M 2.5 ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างมาก โครงการ Pai Clean Air อากาศสะอาด สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นโครงการนำร่องในการสร้างการรับรู้ให้กับผู้ประกอบการ ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ปาย ได้มีการตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการลดปัญหาหมอกควันด้วยวิธีการที่สามารถเริ่มต้นได้จากเรื่องใกล้ตัว ส่งผลต่อชุมชนรอบข้าง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานสำคัญสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ในเรื่องการปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทงที่เกิดขึ้น

นายกรวิทย์ ช่วยดู ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ ด้วยการเริ่มต้นจากชุมชน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในการมองปัญหาร่วมกัน ในการบริหารจัดการ การ สร้างการรับรู้ และจิตสำนึกในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี รณรงค์ในการช่วยกันลดการเผา คัดแยกขยะ จะช่วยทำให้ชุมชนน่าอยู่และยั่งยืนได้ต่อไป

ว่าที่ ร.ต. ภาณุวัฒน์ ขัดนาค ผู้อำนวยการสำนักงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ททท. ส่งเสริมการท่องเที่ยวในทุกห้วงฤดูกาลท่องเที่ยว และมีการปรับลักษณะการทำงาน โดยเน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทั้ง 3 มิติ ในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผ่านมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (TAT STAR : Sustainable Tourism Acceleration Rating) ควบคู่กับการบูรณาการกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ส่งผลต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

นายปณต ประครองทรัพย์ สมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ กล่าวว่า 5 เทรนด์สำคัญที่สนับสนุนแนวความคิดการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในปี 2024
1)Gastronomy Low Carbon : คนเริ่มมองหาอาหารท้องถิ่นที่หาวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัย และหาได้จากในพื้นที่
2)Carbon Footprint : การตระหนักถึงการท่องเที่ยวที่ช่วยลดการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงการตระหนักถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม อาทิ งดการใช้ถุงพลาสติก เปลี่ยนการใช้กล่องโฟม เป็นปิ่นโตแบบวนใช้ซ้ำได้ กระแสการท่องเที่ยวทางราง ฯ
3)Volunteer Tourism : กิจกรรมง่ายๆ ที่สามารถให้นักท่องเที่ยวสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่ เพื่อสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยว
4)Tour Link : เกณฑ์ผู้ประกอบการใน Tourism Supply Chain เป็นมาตรฐานกาคท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทั่วโลก
5)Luxury Tourim ในรูปแบบที่ต่างจากเดิม ในแง่ของประสบการณ์ท้องถิ่น มี Local Community ที่เข้ามาร่วมเติมเต็มประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยว

นายสินสมุด พรมสุวรรณ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวปาย กล่าวว่า ปัญหาหมอกควัน ถือเป็นปัญหาสำคัญและส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจการท่องเที่ยว สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวปายมีการผลักดันการดำเนินงาน ให้ความรู้กับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจภายใต้การคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

คุณกฤษณา จินายน ฟิลิปส์ ตัวแทนชุมชนกาดเสาร์ล้อมสวน กล่าวว่า ในพื้นที่สวนสาธารณะกาดเสาร์ล้อมสวน โดยมีวัตถุประสงค์ให้ “ปายเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน” ภายใต้เงื่อนไขของความสะอาด การใช้วัสดุธรรมชาติไม่น้อยกว่า 50% และสนับสนุนกิจกรรมสำหรับครอบครัว โดยมุ่งเน้นให้

ดร. แสนวสันต์ ยอดคำ อาจารย์คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์แบบไม่พลิกกลับกอง จะเป็นการช่วยลดการเกิด P.M 2.5 ตั้งแต่ต้นทาง โดยใช้วิธีการที่ง่าย ต้นทุนต่ำ และได้คุณภาพสูงสุด ด้วยการใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรร่วมกับมูลสัตว์ ในสัดส่วน 3:1 เกิดการย่อยสลายตามธรรมชาติ ซึ่งผ่านการวิจัยและพัฒนา ถือเป็นตัวอย่างวิธีง่ายๆ ที่ได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ และมีส่วนช่วยลดปัญหาหมอกควัน ทำให้เกิดอากาศสะอาดได้อีกทางหนึ่ง

ดร. นิทัศน์ บุญไพศาลสถิตย์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า กิจกรรมการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Zero Carbon) ถือเป็นเทรนด์กิจกรรมการท่องเที่ยวสำคัญที่กำลังเติบโต มีการใช้ application เพื่อคำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยให้เกิดกระแสการท่องเที่ยวในวงกว้างในการมีส่วนช่วยกันตระหนักถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *