#นิสิตพัฒนาสังคม มจร.วัดไร่ขิง วิจัย นวัตกรรมอยู่ร่วมกันของชุมชนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พระจักรา ฐานวโร วัดแก่งระเบิด นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการพัฒนาสังคม วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร.วัดไร่ขิง(ชมคลิป)

นิสิตพัฒนาสังคม มจร.วัดไร่ขิง วิจัย นวัตกรรมอยู่ร่วมกันของชุมชนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
พระจักรา ฐานวโร วัดแก่งระเบิด นิสิตปริญญาเอก สาขาวิชาการพัฒนาสังคม วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร.วัดไร่ขิง กล่าวว่า ได้ทำวิจัย เรื่อง นวัตกรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนกับพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ในอ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โดยมี ศ.ดร.พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ รองผอ.วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี เป็นที่ปรึษาโครงการ
ทั้งนี้โครงการวิจัยดังกล่าวมุ่งพัฒนานวัตกรรมทางสังคมที่จะให้อุทยานแห่งชาติ ภาครัฐ ชาวบ้าน และป่า ได้ประโยชน์ร่วมกัน ชาวบ้านสามารถหาผลผลิตจากป่าในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าเเละพันธุ์พืช ในอ.ไทรโยค ได้อย่างถูกต้อง ไม่ขัดระเบียบอุทยานแห่งชาติและภาครัฐ รวมถึงป่าไม้ได้รับการดูแลจากชาวบ้านด้วย

พระจักรา กล่าวต่อไปว่า สืบเนื่องจากการทำโครงการวิจัยดังกล่าว จึงได้มีการจัดประชุมพหุภาคีเพื่อหาข้อตกลงในการใช้ประโยชน์ร่วมกันบนพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ระหว่างอุทยานฯไทรโยคใหญ่ ฝ่ายปกครอง สภ.ไทรโยค และผู้นำชุมชน
ในเขต อ.ไทรโยค โดยมีผู้นำชุมชนจากทุกหมู่บ้านรอบเขตอุทยานจำนวน 252 คน
นายเนรมิต เหลืองอร่าม นายอำเภอ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
นายโดม จันทร์สุวรรณ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยคใหญ่
พ.ต.อ.ภุชงค์ ณรงค์อินทร์ ผุ้กำกับการ สภอ.ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่วมกันให้ทำข้อตกลงสร้างนวัตกรรมภายในอำเภอและเจ้าหน้าที่ อุทยานแห่งชาติฯ ไทรโยค ให้ชาวบ้านสามารถเข้าไปหาผลผลิตจากป่าได้ถูกต้องตามกฎหมายได้ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ชาวบ้านหยุดหาผลิตผลจากป่า จากเดิมที่ก่อนหน้านี้

เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ได้มีการห้ามหาหน่อไม้ในเขตอุทยาน เลยทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปหาหน่อไม้ เห็ดโคน ภายในพื้นที่อุทยานฯได้ อย่างไรก็ตาม ได้อนุญาตให้ชาวบ้านหาผลผลิตจากป่าได้ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์และให้หยุดหาของป่าในวันเสาร์และวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานกำลังออกบัตรหาผลผลิตจากป่าให้กับชาวบ้านอีกด้วย
นับเป็นนวัตกรรมวิจัยที่สามารถลดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ทุกฝ่ายโดยผสานกลไกที่ผ่านกระบวนการที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนระหว่างคนกับป่า

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *