ภาพหาชมยากวัฏจักรของช้างการเกี้ยวพาราสีช้าง เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสามสัปดาห์ของการปรับตัวให้เข้ากับการสืบพันธุ์ของช้างเพศเมีย ซึ่งเรียกว่าวงจรการเป็นสัด

#ภาพหาชมยากวัฏจักรของช้างการเกี้ยวพาราสีช้าง เป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสามสัปดาห์ของการปรับตัวให้เข้ากับการสืบพันธุ์ของช้างเพศเมีย ซึ่งเรียกว่าวงจรการเป็นสัด

ช้างป่ากุยบุรีเกี้ยวพาราสีกันท่ามกลางธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในพื้นที่ เพื่อผสมพันธุ์สืบทอดเผ่าพันธุ์ช้างป่ากุยบุรี
การผสมพันธุ์ของช้างป่าจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงฤดูหนาว โดยช้างเพศเมียจะเริ่มพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 18-20 ปี และจะสิ้นสุดวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุราว 40-50 ปี
ทั้งนี้ ช้างเพศเมียจะตั้งท้องนานประมาณ 19-21 เดือน และมักให้กำเนิดลูกครั้งละ 1 ตัว โดยจะมีระยะห่างระหว่างการตั้งท้องแต่ละครั้งประมาณ 3 ปี ตลอดช่วงชีวิตของช้างเพศเมีย 1 ตัว จะสามารถให้กำเนิดลูกได้เฉลี่ย 3-4 ตัว ซึ่งภาพความประทับใจ ในครั้งนี้ นับเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการขยายประชากรตามธรรมชาติของช้างป่าในผืนป่ากุยบุรี และสะท้อนถึงความสำเร็จในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าที่เป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่าและสัตว์ป่านานาชนิด…

ผืนป่ากุยบุรีถือเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของการอนุรักษ์ช้างป่าในประเทศไทย ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์และเป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่าจำนวนมาก การพบเห็นพฤติกรรมการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติเช่นนี้ จึงเป็นความหวังของการดำรงอยู่และการสืบทอดเผ่าพันธุ์ของช้างป่าไทยต่อไป…

ข่าว / ทีมข่าวจ.ประจวบฯ/อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *