ในช่วง หน้าฝน เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ เร่งให้เจ้าหน้าที่ผลิตเชื้อไตรโคโดม่าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าในพืช โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งของสุราษฎร์ธานี

ในช่วง หน้าฝน เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ เร่งให้เจ้าหน้าที่ผลิตเชื้อไตรโคโดม่าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าในพืช โดยเฉพาะทุเรียนซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งของสุราษฎร์ธานี

 

 

นางสาวสมัย สังข์ทองงาม เกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ขณะนี้ทางเกษตรกรอำเภอกาญจนดิษฐ์กำลังให้เจ้าหน้าที่เร่งผลิตเชื้อไตรโคโดม่าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวน ในการแก้ปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าให้กับพืชชนิดต่างๆที่ถูกน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักตัวหนึ่งของสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นภัยสำคัญของชาวสวนทุเรียน โรครากเน่าโคนเน่าในช่วงหน้าฝนจะเกิดได้ง่าย วิธีการป้องกันวิธีการหนึ่งที่จะแก้ปัญหาได้คือการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคโดม่าซึ่งเป็นเชื้อราดี การนำไปใช้โดยการฉีดพ่นบริเวณโคนพุ่ม ลำต้นและใบ ในอัตราส่วนไตรโคโดม่า 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทั่วบริเวณหรือใช้ผสมกับปุ๋ยหมักหรือรำข้าว ในอัตราส่วนปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม รำข้าว 4 กิโลกรัมและไตรโคโดม่า 1 กิโลกรัม ผสมห้เข้ากันแล้วนำไปโดยบริเวณโค่นพุ่มของทุเรียน

 

 


การใช้เชื้อไตรโคโดม่า การใช้อาจจะไม่เห็นผลทันทวงที่หลังการใช้แต่จะเป็นการเติมเชื้อราชนิดดีลงไปในพื้นดินที่สวนทุเรียนตั้งอยู่ให้ซึ่งเกษตรกรจะต้องเติมหรือเพิ่มเชื้อราไตรโคโดม่าลงไปใน 1 เดือน ในช่วงที่ฝนตกชุกหรือมีปริมาณฝนมากกว่าปกติจะต้องใส่ 2 สัปดาห์ 1 ครั้ง หรือ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นการเพิ่มเชื้อราชนิดดีอีกทางหนึ่ง ทำให้เกษตรกรมีความต้องการใช้เชื้อราไตรโคโดม่าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีการรณรงค์ส่งเสริมจากภาครัฐและหน่วยงานต่างๆของกระทรวงเกษตรที่มีการการส่งเสริมการใช้เชื้อราไตรโคโดม่ามากขึ้น แต่การผลิตยังบผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ซึ่งที่ผ่านมาทางเกษตรอำเภอกาญจนดิษฐ์ก็ได้ถ่ายทอดการทำเชื้อราไตรโคโดม่าชนิดสดให้กับชาวบ้านเพื่อนำไปทำเองบ้างแล้ว
สำหรับจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาร 1 แสน 2 ไร่ กว่าไร่โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอบ้านนาสาร อำเภอท่าชนะ อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย และอำเภอเตียนซา ที่มีการปลูกทุเรียนมากเป็นลำดับต้นๆ

 

 

ติดตามข่าวได้ที่เว็บไซต์
#คมชัด AEC TV ออนไลน์
#ข่าวนคร AEC TV ออนไลน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *