#แหล่งท่องเที่ยงที่สำคัญของภาคใต้
#ชายหาดที่สวยงาม
#ที่มาของชื่อ
#แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
คำว่า “ตะลุมพุก” เป็นชื่อของปลาชนิดหนึ่ง ที่เคยมีอยู่ชุกชุมที่แหลมแห่งนี้
โดยเฉพาะบริเวณ
ด้านปลายของแหลมทรายรูปจันทร์เสี้ยว ที่ยื่นไปในอ่าวไทย
#ปลาตะลุมพุก หรือ ปลากระลุมพุก หรือ ปลาหลุมพุก (ใต้) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่เข้ามาวางไข่ในน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tenualosa toli ในวงศ์ ปลาหลังเขียว (Clupeidae)
#ลักษณะ ..
ปลาตะลุมพุก มีรูปร่างคล้ายปลาในวงศ์ปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า และส่วนครีบหลังหางยาวเว้าลึกกว่ามาก ปากกว้าง ลูกตามีเยื่อไขมันคลุม ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นเล็ก เกล็ดใหญ่แต่บางคลุมทั้งลำตัว เกล็ดท้องเป็นสันคม ลำตัวด้านหลังมีสีคล้ำอมฟ้าอ่อนหรือเขียวอ่อน เช่นเดียวกับหัว ด้านข้างเป็นสีเงินอมฟ้าหรือเหลืองอ่อนไปจนถึงท้อง ในปลาที่ไม่สดนักมักมีสีแดงเรื่อ ๆ ที่ข้างลำตัว ครีบมีสีเหลืองอ่อน ครีบหางสีเหลืองอ่อนเหลือบฟ้า ขอบสีคล้ำ มีขนาดโตเต็มที่ได้
ราว 35–45 เซนติเมตร
พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งทะเลตั้ง แต่อ่าวเบงกอลจนถึงทะเลจีนใต้และ
อินโด-แปซิฟิก
#สำหรับในประเทศไทย ในอดีตราว 60 ปีก่อน เคยพบชุกชุมในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะว่ายเข้ามาวางไข่ถึงตำบลบางยี่ขัน อำเภอบางพลัด เชื่อกันว่าปลาชนิดนี้ชอบมากินกากส่าเหล้า
ที่โรงสุราบางยี่ขัน (ปัจจุบัน คือ ที่ตั้งของมูลนิธิชัยพัฒนา ภายในสวนหลวงพระราม 8 บริเวณ
เชิงสะพานพระราม 8
ฝั่งธนบุรี) กลั่นทิ้ง โดยแหล่งขึ้นชื่อการวางไข่ของปลาตะลุมพุก พบได้ตั้งแต่ตำบลสามเสน ขึ้นไปวางไข่ไกลถึงอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี รวมถึงพบชุกชุมที่แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อันเป็นที่มาของชื่อสถานที่ด้วย
ซึ่งในปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ปลาตะลุมพุกสีเหลืองแสดงไว้อยู่
#ในปี ค.ศ. 1935 ซึ่งในเวลานั้นจำนวนปลาก็ลดลงมากแล้ว
#ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ อธิบดีกรมประมงคนแรกรายงานว่า
เป็นปลาที่มีความนิยมมากในหมู่คนจีน และมีผู้มารอรับซื้อจากชาวประมงอวนลอย ให้ราคาตัวละ 1-3 บาท
#ปัจจุบัน ปลาตะลุมพุก
สูญพันธุ์ไปแล้ว จากแม่น้ำเจ้าพระยา และหายากมากที่ทะเลสาบสงขลาและระนอง แต่ยังมีพบบ้างที่แม่น้ำราจังที่รัฐซาราวัก
ในมาเลเซีย แต่ก็ลดจำนวนลงมากแล้ว ปลาตะลุมพุก
ที่พบวางขายในตลาดสดในกรุงเทพมหานคร หรือภาคใต้ นั้นนำเข้ามาจากประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ พม่า, อินโดนีเซีย มาเลเซีย เข้าใจว่าน่าจะเป็นปลาตะลุมพุกชนิด T. ilisha ซึ่งเป็นปลาคนละชนิดมากกว่า เป็นปลาที่ชาวจีนนิยมบริโภคมาก แม้ว่าเนื้อจะมีก้างมาก แต่ต้องรู้วิธีการปรุงและบริโภคจึงไม่ถูกก้างตำ เนื้อมีรสชาติดี มีราคาขายที่แพงมาก
#ในกลางปี ค.ศ. 2010 ทางกรมประมงได้ทำโครงการปะการังเทียมขึ้นทั้งทางอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ปรากฏว่า มีปลาหลายชนิดที่หายากหวนกลับคืนมา รวมถึงปลาตะลุมพุกด้วย
ที่ตะลุมพุกเองขณะที่การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนช่วงแรกเป็นชาวไทยอิสลาม ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพื่อมาทำการประมง จากนั้นจึงเริ่มมีชาวจีนเข้ามาทำการค้า จนเกิดตำบลเชื้อสายแซ่ ทำให้ปัจจุบันแหลมตะลุมพุกแห่งนี้ มีการประสมประสาน 2 วัฒนธรรม อิสลาม จีน และไทยพุทธ
โดยครั้งหนึ่งในอดีต เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จพระราชดำเนินมายัง
แหลมตะลุมพุกแห่งนี้
ซึ่งจากบันทึกจดหมายเหตุเสด็จประพาสแหลมมลายู ร.ศ.108 บรรยายไว้ว่า
“เป็นหาดแคบนิดเดียวแต่ยังยาววงเป็นอ่าวเข้าไปไกล มีเรือนประมาณ 70 หลัง
ปลูกมะพร้าวมาก มีของที่เป็นสินค้าขายออก คือ ปลาเค้า ปลากระบอก เคย แตง”
#ครั้งหนึ่งเมื่อราวปี 2505 แหลมตะลุมพุกเคยถูก พายุโซนร้อนชื่อ “แฮเรียต” เข้าถล่มเมื่อวันที่ 25 ต.ค.
ในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต
ถึง 1,300 คน จากจำนวนหมู่บ้านประชาชน 4,000 คน เหลือบ้านเพียง 5 หลังเท่านั้น โดยมีการประเมินความเสียหายครั้งนั้นกว่า 377-1,000 ล้านบาท
ครั้งนั้นเส้นผ่าศูนย์กลางของพายุ มีขนาด 300 กิโลเมตร หรือใหญ่เท่ากับจังหวัดนครศรีธรรมราช
ด้วยความเร็วลม 180 – 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในการเคลื่อนที่ 92.622 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยวันที่เกิดเหตุการณ์ 25 ต.ค. พ.ศ.2505 เวลาประมาณ 19.00-22.30 น. ชาวบ้านบอกเล่ากันว่า”ท้องฟ้ามีสีแดงฉาน
คลื่นสูงเทียมยอดสน (20 เมตร) ถล่มใส่แหลมตะลุมพุกลูกเดียว
กินเวลา 3 ชั่วโมง บ้านเรือนก็เริ่มพัง และขณะที่
ฝนตกลงมาเป็นบ้าเป็นหลัง ทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่วัยชรา เริ่มร้องไห้กระจองอแง ไฟดับมืดไปทั้งตะลุมพุก เมื่อเวลา 22.00 น. คลื่นลมหยุดนิ่งเป็นปลิดทิ้ง จนชาวบ้านเข้าใจว่าพายุสงบแล้ว ผู้คนเริ่มออกมาสำรวจความเสียหาย แต่อีกครึ่งชั่วโมงต่อมา พายุอีกลูกก็พัดสวนทางกับลูกแรก คราวนี้บ้านเรือน และผู้คนถูกกวาดลงทะเลเหี้ยนเตียน พายุลูกหลังนี้ ทำให้ชาวบ้านล้มตายเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์พายุแฮเรียตเข้าถล่มแหลมตะลุมพุก ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ เรื่อง ตะลุมพุก มหาวาตภัยล้างแผ่นดินเมื่อปี 2548 โดยมีนักแสดงนำอย่าง พรหมพร ยูวะเวส, ฉัตรชัย เปล่งพานิช ผลงานการกำกับของ
ปิติ จตุรภัทร์ บริษัท ฟิล์มเซิร์ฟ จำกัด
ปัจจุบันแหลมตะลุมพุก เป็นที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของ จ.นครศรีธรรมราช ด้านที่ติดกับทะเลด้านในที่เป็นอ่าวนครฯ เป็นที่อยู่ของชาวบ้าน ส่วนด้านนอกที่ติดกับอ่าวไทยเป็นหาดทรายและมีต้นสนขึ้นเป็นแนวยาว ซึ่งจุดที่เป็นแหลมตะลุมพุกซึ่งเป็นแหลมทรายรูปจันทร์เสี้ยวยื่นไปในอ่าวไทยสามารถขับรถไปจนถึงปลายแหลมได้ซึ่งมีระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร โดยสามารถขับรถไปได้ด้วยทางหลวงหมายเลข 4013 (นครศรีธรรมราช-ปากพนัง) จะมีทางแยกเข้าสู่แหลมตะลุมพุก ประมาณ 16 กิโลเมตร ซึ่งตลอดเส้นทางมีการทำนากุ้งสองข้างทางสลับกับแนวป่าชายเลน และตลาดอาหารทะเลจำนวนมาก
#นี้คือเพชรเม็ดงาม..ในการท่องเที่ยวฯ
ดร.พิเชฐ สุดเดือน
ศูนย์ข่าวภาคใต้
ติดตามข่าวได้ที่เว็บไซต์
#คมชัด AEC TV ออนไลน์
#ข่าวนคร AEC TV ออนไลน์