ปทุมธานีคณะอนุกรรมการลงตรวจประเมินผลงานเชิงประจักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม

เมื่อเวลา 13:00 น ของวันที่ 30 กันยายน 2567

 

ผู้สื่อข่าวรายงานที่ชุมชนเดชเจริญ ตำบล คูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีการประเมินผลงานเชิงประจักษ์สิ่งแวดล้อมยั่งยืนรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืนประจำปี 2567

โดยมีคณะอนุกรรมการตรวจประเมิน
ดร.พรพิมล วราทร ประธานการตรวจประเมินผลงานเชิงประจักษ์การประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนรางวัลอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมเมืองที่ยั่งยืนปี 2567 พร้อมคณะ
ดร.พิรียุตม์ วรรณพฤกษ์
นางสาวกุลชา ธนะขว้าง
นางสาวธนิตา เจริญสุข
นางผการัตน์ เพ็งสวัสดิ์
ลงพื้นที่ประเมินเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ณ.ชุมชนเดชเจริญ และได้รับการต้อนรับจากประธานชุมชนพร้อมคณะทำงาน พร้อมตอบคำถามประเด็นซักถามต่างๆที่ทางคณะอนุกรรมการต้องการทราบข้อมูลต่างๆพร้อมกับได้รับการแนะนำจากคณะอนุกรรมการ พร้อมพาคณะอนุกรรมการลงพื้นที่เดินดูวิธีการนำเศษอาหารที่เหลือในชุมชนของตนนำมาผลิตลง(เครื่องย่อยขยะอินทรีย์)พร้อมกับส่วนผสมในการทำสารปรับปรุงดิน 1 ครั้งจะใช้เศษอาหารประมาณ 80 กิโลกรัมและจะใช้เวลาประมาณ48ชั่วโมง ก่อนออกมาเป็นสารปรับปรุงดินในการผลิตแต่ละครั้งจะได้สารปรับปรุงดินจำนวน 45 ถุง ทางชุมชนก็จะนำออกมาจำหน่ายในราคาถุงละ 35 บาท หรือ 3 ถุง 100 บาท เพื่อนำเงินต่างๆนั้นเข้ามาเป็นค่าไฟในการผลิตพร้อมกับนำมาเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภายในชุมชน เพราะในชุมชนมีการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นรายได้เสริมของชุมชนอีก 1 แบบ และยังเป็นชุมชนต้นแบบเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเขตของตำบลคูคตก็ว่าได้ เพื่อให้เป็นที่ฝึกวิชาชีพต่างๆสถานศึกษาเข้ามาศึกษาดูงานกันได้ตลอด

จากการสอบถาม จ่าเอกสถิตย์ พงษ์เขตสุพรรณ
ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองคูคตกล่าวว่าสำหรับวันนี้เป็นการตรวจประเมินของ (กรมลดโลกร้อน) เป็นการตรวจเชิงประจักษ์ซึ่งจำเป็นจะต้องลงพื้นที่ ของชุมชนเดชเจริญ ถือว่าเป็นชุมชนนำร่อง ชุมชนต้นแบบเรื่องของการจัดเก็บขยะและเศษอาหาร ซึ่งตลอดระยะเวลา 1 ปีทางเทศบาลร่วมกันจัดเก็บกับชุมชนและเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมายเกี่ยวกับการลดปริมาณขยะและเศษอาหารจากเดิม ชุมชนเดชเจริญจะมีขยะประมาณ 3 ตัน ต่อการเก็บ1 ครั้งแต่เดี๋ยวนี้ลดเหลือประมาณ 1 ตันต่อการเก็บ 1 ครั้งและที่สำคัญคือนำเศษอาหารมาแปรรูปเป็นสารปรับปรุงดินก็จะสังเกตเห็นพื้นที่ด้านข้างๆคือผลงานการผลิตสารปรับปรุงดิน จากเศษอาหารภายในชุมชน ก็จะสังเกตุเห็น พืช ผัก ต่างๆที่ทางชุมชนปลูกก็จะเขียวชะอุ่มอุดมสมบูรณ์ และ เทศบาลยังมีแผนขยายโมเดลของชุมชนเดชเจริญไปตามชุมชนต่างๆในเขตเทศบาลเมืองคูคตทั้งหมดหากวันนั้นมาถึงในเขตเทศบาลเมืองคูคตก็จะทำให้ขยะพร้อมเศษอาหารลดลงได้ไม่ต่ำกว่า 50%

หลังจากนั้นอนุกรรมการตรวจประเมินเดินดูคุณภาพในการผลิตสารปรับปรุงดินพร้อมกับผลผลิตต่างๆที่ทางชุมชนได้ปลูกแล้วนำสารปรับปรุงดินใส่เข้าไปก็จะมีลูกผลที่สวยงามอย่างเช่นพริกขี้ หนูมะนาว มะละกอ กระเพรา มะเขือพวงกล้วยน้ำว้า แฟง มะระขี้นก มะเขือเปราะ เป็นต้น และในพื้นที่ของชุมชนก็ยังมีบ้านต้นแบบ นักเรียน ศูนย์ กสร.คูคต และชุมชนต่างๆก็สามารถเข้ามาชมได้ตลอดติดต่อได้ที่ 081-933-0601 คุณสมภาร ฉิมหลวง ประธานชุมชนเดชเจริญ

ภาพ/ข่าว ขุนพล ไพโรจน์/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *