Sukhothai : Sustainable Development Goals (SDGs) : Meeting
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายสุชาติ ทีคะสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) จังหวัดสุโขทัย ณ ห้องประชุมศรีสัชนาลัย ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อพิจารณาวาระต่าง ๆ ดังนี้
(1) พิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ระดับจังหวัดประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการด้านผลสัมฤทธิ์ของงานของสำนักงานจังหวัดฯ
(2) พิจารณาทบทวนคำสั่งคณะกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดสุโขทัย (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยให้มีคณะทำงานขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) จังหวัดสุโขทัย จำแนก 5 กลุ่ม (5P) ตามแนวทางที่สหประชาชาติกำหนด คือ 1) มิติพัฒนาคน (People) 2) มิติเศรษฐกิจ – ความมั่นคง (Prosperity) 3) มิติสิ่งแวดล้อม (Planet) 4) มิติสันติภาพ (Peace) และ 5) มิติหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership)
(3) พิจารณาคัดเลือกโครงการ/กิจกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดีเด่น (Best – Practice) ในภาพรวมของจังหวัดสุโขทัย และนวัตกรรมที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อน SDGs ของจังหวัด
(4) พิจารณาการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อน SDGs ของจังหวัด อย่างน้อย 1 นวัตกรรม และตามแนวทางของกระทรวงมหาดไทย
(5) พิจารณาแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567/2568 ของจังหวัดสุโขทัย
ในการนี้ นายศุภสัณห์ ศิลป์ชูศรี พาณิชย์จังหวัดสุโขทัย พร้อมด้วยนางสาววิไลพร ปานทอง นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ พาณิชย์จังหวัดสุโขทัย ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะทำงานชุดที่ 2 มิติเศรษฐกิจ – ความมั่งคั่ง (Prosperity) SDG 7 8 9 10 11 โดยมีอำนาจหน้าที่เพื่อกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงาน และขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง โดยสร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน
เป้าหมายที่ 7 : สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน
เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน
เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ
เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ มีความครอบคลุม ปลอดภัย ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน