ม.ราชภัฏนครสวรรค์ จัดกิจกรรม ประกาศเมือง “นครสวรรค์” เมืองแห่งวิถีวัฒนธรรมจีน

ม.ราชภัฏนครสวรรค์ จัดกิจกรรม ประกาศเมือง “นครสวรรค์” เมืองแห่งวิถีวัฒนธรรมจีน
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 9.30 น. นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดงานประกาศเมือง “นครสวรรค์” เมืองแห่งวิถีวัฒนธรรมจีน โดยมี นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ศ.ดร.สมยศ พลับเที่ยง รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดร.ภิญโญ นิโรจน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์ ดร.วิรัช ตั้งประดิษฐ์ ที่ปรึกษากิตตมศักดิ์หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ นายจตุรวิทย์ นิโรจน์ธนรัฐ รองนายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ นางสาวภัทราวดี นิโรจน์ รองนายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ – มูลนิธิ ฯ สมาคม ชมรม และองค์กรต่างๆ ร่วมพิธีเปิด เพื่อพลิกฟื้นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนสู่การพัฒนานครสวรรค์ให้เป็นเมืองจีนแห่งที่สอง ของโลก Second China Town ณ ห้อง The Sun 1 ชั้น ๖ อาคาร 42C HALL โรงแรม 42C The Chic Hotel จังหวัดนครสวรรค์
นอกจากนั้นยังมีการเสวนาเรื่อง “นครสวรรค์” เมืองแห่งวิถีวัฒนธรรมจีน โดย นางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ นายสมศักดิ์ อรุณสุรัตน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครสวรรค์ ดร.วิรัช ตั้งประดิษฐ์ ที่ปรึกษากิตตมศักดิ์หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดร.ชเล คุณาวงศ์ บริษัทองศาสถาปนิก ร่วมเสวนา
จากสถานการณ์ความท้าทายและทิศทางการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไท
ยและของจังหวัดนครสวรรค์ นำมาสู่ฐานคิดและเป้าหมายที่สำคัญของกระบวนการต่อยอดงานบริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในการศึกษารวบรวมองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ประเพณีและนวัตกรรมทางวัฒนธรรมของวิถีชุมชนคนจีนต้นแม่น้ำเจ้าพระยา มาสร้างสรรค์และยกระดับการพัฒนาขับเคลื่อนสร้างนิเวศวัฒนธธรรมในพื้นที่ที่นำไปสู่สำนึกท้องถิ่น ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอดสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชนจีนต้นแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ในการสร้างความรู้เพื่อความเข้าใจท้องถิ่นแบบองค์รวมผ่านการดำเนินโครงการพลิกฟื้นความหลากหลายทางวัฒนธรรมชุมชน “นครสวรรค์” เมืองแห่งวิถีวัฒนธรรมจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดทำระบบข้อมูลองค์ ความรู้ภูมิปัญญาของวิถีวัฒนธรรมชุมชนคนจีนต้นแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อจัดทำคู่มือแหล่งเรียนรู้ด้านวิถีวัฒนธรรมจีน จังหวัดนครสวรรค์
โครงการพลิกฟื้นอัตลักษณ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “นครสวรรค์” เมืองแห่งวิถี วัฒนธรรมจีน โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้รับผิดชอบ
และดำเนินโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ประจำปีงบประมาณ
2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นหน่วยงานในการสร้างความร่วมมือระหว่าง สถาบันอุดมศึกษากับภาคีเครือข่ายระดับ จังหวัดทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ ส่วนภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสมาคมองค์กรจีนของจังหวัดนครสวรรค์
เป็นกระบวนการขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรมที่อาศัยความร่วมมือของคณาจารย์ นักวิจัย
จากสาขาวิชาต่างๆ ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลักในพื้นที่ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค
ประชาสังคมในพื้นที่ ตลอดจนเกิดเวทีสร้างความรู้และแผนความร่วมมือ (Cooperation Plan) ในการ ”
อนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือสร้างสรรค์พื้นที่วัฒนธรรม (Cultural Space) รวมถึงเสริมพลัง (Empowerment)
การเกาะเกี่ยวทางสังคมระหว่างคนรุ่นเก่า และคนรุ่นใหม่ บนฐานสำนึกรักหวงแหนท้องถิ่นบนฐานทุน
ทางวัฒนธรรมของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับ เยาวชน/นักเรียน/นักศึกษา คณะทำงานองค์กร และประชาชนเกิดความรักและหวงแหนตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจในรากเหง้าวิถีชีวิตและวัฒนธรรม มีความรู้ความเข้าใจข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย-จีน ในการพัฒนาเมืองนครสวรรค์สู่เมืองวิถีวัฒนธรรมจีน , เป็นเวทีสร้างความร่วมมือทางวิชาการ และทำงานบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชา ตลอดจนขับเคลื่อนงานตามพันธกิจที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่นำไปสู่การสร้างสำนึกท้องถิ่นของสถาบันอุดมศึกษา , จัดทำข้อมูลเชิงนโยบายเสนอต่อผู้บริหารในด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองเพื่อรองรับการเป็นเมืองนครสวรรค์สู่เมืองวิถีวัฒนธรรมจีน , มีการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการท่องเที่ยวให้จังหวัดนครสวรรค์ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทย-จีน ที่ได้รับความนิยม สามารถรอง-รับจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น , มีคณะทำงานด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือสร้างสรรค์พื้นที่วัฒนธรรม (Cultural Space) เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และนำมาสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนย่านตลาดเก่า จังหวัดนครสวรรค์

#วิวรรธน์ แพ่งสุภา รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *