รมว.ยุติธรรม รวมพลคนหลังกำแพงภาคใต้ เพื่อสร้างพื้นที่คืนสังคม
วันที่ 24 กรกฎาคม 2567 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดยะลา เป็นประธานเปิดงานมหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง ภายใต้แนวคิด ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส พร้อมทั้งร่วมเวทีเสวนาพิเศษ ในประเด็นความท้าทายในการสร้างการยอมรับผู้พ้นโทษ ณ อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park ยะลา) ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา ถ.สุขยางค์ ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา
สำหรับ งานมหกรรมรวมพลคนหลังกำแพง เป็นการสร้างพื้นที่ในการประสานความร่วมมือ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการให้โอกาสกับผู้ก้าวพลาดที่ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาพฤตินิสัย การปรับทัศนคติและการฝึกวิชาชีพ จนสามารถออกมาใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวและสังคมด้วยการประกอบอาชีพสุจริต สามารถเป็นต้นแบบให้กับผู้ต้องขัง ซึ่งในปัจจุบันมีผู้พ้นโทษที่ออกไปประกอบอาชีพและประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีพื้นที่ในการบอกเล่าให้กับสังคม การจัด
กิจกรรมครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและความหวังให้กลุ่มคนหลังกำแพง ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นกับสังคมและกลุ่มผู้พ้นโทษ ว่าโอกาสที่สังคมหยิบยื่น และโอกาสที่กลุ่มคนเคยก้าวพลาดได้รับจะเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างคนดีมีคุณค่าโดยไม่หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ
โดยมี
เลขาธิการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ผู้ช่วยเลขาธิการศอ.บต. ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ รองอธิบดีกรมควบคุมความประพฤติ และเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม ประชาชน กลุ่มผู้ประกอบการเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวในโอกาสนี้ด้วยว่า ทุกคนไม่มีใคร ไม่เคยก้าวพลาด อยากให้พวกเราลองกลับมาคิดว่า การจัดงาน (ราชทัณฑ์แก้ไข คนไทยให้โอกาส ) คำว่า คนไทยให้โอกาส เป็นคำที่สูงส่งมาก “ผมคิดว่า การให้โอกาสคนหลังกำแพง คือทางรอดของประเทศไทย”
วันนี้ราชทัณฑ์เปลี่ยนไปราชทัณฑ์เป็นสถานที่ๆสร้าวคน เพื่อให้คน มาสร้างครอบครัว สร้างประเทศชาติ ราชทัณฑ์ ไม่ใช่ดินแดนต้องห้ามไม่ใช่ดินแดนต้องคำสาปอีกแล้ว
ปัจจุบันจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำอยู่ในประเทศ3แสนกว่าคน ผู้ที่อยู่ในกรมควบคุมความประพฤติเกือบ4 แสนคน บุคคลเหล่านี้เกือบล้านคนต้องการเพียงแค่โอกาสคำว่าโอกาสคือสิ่งที่คนอื่นยื่นให้ เพราะคนที่ต้องการโอกาสมากที่สุดคือผู้ที่ก้าวพลาด โอกาสหนึ่งที่เค้าต้องการคืออยากให้มองเค้าเป็นมนุษย์คนนึงและขอแต่พื้นที่ในสังคมอยากให้เรากลับมามองถึงการให้โอกาสบุคคลที่ก้าวพลาดทั้งที่อยู่ในเรือนจำและพ้นโทษออกมาแล้ว การให้โอกาสคือการให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คนเกือบล้าน สามารถเป็นแรงงานสำคัญในการขับเคลื่อนงานที่เหมาะกับความถนัดเค้าได้ นอกจากนี้โอกาสที่เป็นสิทธิมนุษยชนคือโอกาสด้านการศึกษา การเปลี่ยนชีวิตและโอกาสของคน สิ่งสำคัญคือการศึกษา ถ้าคนเราขาดโอกาสทางการศึกษา ย่อมเสี่ยงต่อการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ไม่ดี
อย่างน้อย คนที่ในเรือนจำ ต้องได้รับการศึกษาตามอัตลักษณ์ วัฒนธรรมที่เหมาะสมในพื้นของตนรวมทั้งหลักคำสอนของศาสนา ทุกคนควรได้รับโอกาสที่เท่าเทียมในฐานะที่เป็นบุคลากรของประเทศไทย
อับดุลหาดี/ยะลา/24 ก.ค. 67