รพ.สต.บ้านซาง ในสังกัด อบจ.เชียงใหม่ จัดกิจกรรมแรลลี่เอ็กซเรย์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย 3 หมู่บ้านในพื้นที่ ต.ขั้เหล็กอ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ตามโครงการพัฒนากระบวนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ปี 67 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
วันที่ 4 มิถุนายน 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านซาง ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม ในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นำทีม SRRT จำนวน 45 คน ที่รพ.สต. จัดตั้งขึ้นลงพื้นที่ร่วมกับผู้นำชุมชนอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) แกนนำและเครือข่ายประชาชน จำนวน 70 คน ประชาสัมพันธ์รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ไข้ซิกา ไข้ชิคุนกุนย่า โดยการกำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ระบาดและพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค จำนวน 3 หมู่บ้านได้แก่
หมู่ ที่ 3,4 และ 5 ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โดยเฉพาะบริเวณโรงเรียนบ้านน้ำรินและวัดจำนวน 5 แห่ง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจตลอดจนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนของตนเอง พร้อมแจกทรายอะเบทให้ทุกครัวเรือนเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย
นางนฤชล รัญเสวะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านซาง ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่าจากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 11 กรกฎาคม 2566 พบรายงานผู้ป่วยจำนวน 1,805 คน คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน 88.93 เสียชีวิต 2 คน พื้นที่ได้พบการระบาดมากที่สุด ได้แก่ อำเภอแม่อาย, อำเภอเชียงดาว, อำเภอไชยปราการ, อำเภอเมืองเชียงใหม่ และอำเภอแม่ริม โดยพบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 25-34 ปี, กลุ่มอายุ 15-24 ปี และกลุ่มอายุ 10-14 ปี ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ด้านสาธารณสุขหากไม่มีการพัฒนาระบบ กระบวนการ และการจัดการในการป้องกันและควบคุมโรคจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในชุมชน
ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซางในสังกัด อบจ.เชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) จึงบูรณาการภาคีเครือข่ายในการเชื่อมโยงในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค เชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและทีมควบคุมโรคในพื้นที่ จัดโครงการบูรณาการเครือข่ายพัฒนากระบวนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซางในสังกัด อบจ.เชียงใหม่ อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ ปี67
ขึ้น เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากรตลอดจนมีเครือข่ายบูรณาการป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่เข้มแข็งและทันต่อเหตุการณ์ จำนวน 3 ทีม ที่สำคัญประชาชนได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออย่างยั่งยืนในพื้นที่เป้าหมาย 3 หมู่บ้านของ ต.ขี้เหล็ก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่.///////////
นิวัตร ธาตุอินจันทร์ เชียงใหม่