ลำปาง -OR ร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณี “การแข่งขัน ตีก๋องปู่จา นครลำปาง”ชิงถ้วยพระราชทานฯครั้งที่ 20 ถือเป็นประเพณีท้องถิ่นอันทรงคุณค่ามายาวนาน
เมื่อเวลา 19.00 น.วันที่ 8 เม.ย.2567 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณสนามหน้าอาคารมิวเซียมลำปาง อ.เมืองลำปาง โดยบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR) จัดกิจกรรมพิธีเปิด “การแข่งขันตี ก๋องปู่จา นครลำปาง” ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ครั้งที่ 20 ประจำปี 2567 เพื่อให้เกิดกิจกรรมการอนุรักษ์ประเพณีตีก๋องปู่จาในกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง และร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ประเพณีตีก๋องปู่ จา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงอยู่สืบไป
โดยมี ดร.ลีลาวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย นางกาญจนี อุดมกุลวณิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการคลังปิโตรเลียม บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าฯลำปาง นายพัชระ สิมะเสถียร รองผู้ว่าฯลำปาง นายอนุวัติ น้อยจันทร์ ผู้จัดการส่วนคลังปิโตรเลียม ลำปาง นายพิษณุพล ประสาน รอง นายก อบจ.ลำปาง หัวหน้าส่วน่าชการ และชาวลำปางร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน โดยกิจกรรมการแข่งขันตีก๋องปู่จานครลำปาง ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานฯ ครั้งที่ 20 มีพิธีอัญเชิญถ้วยรางวัลพระราชทานฯเข้าสู่บริเวณพิธีฯประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่บูชาหน้าบนมณฑปหลวงพ่อเกษม เขมโก ประธานพิธี ถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ และพิธีเปิดการแข่งขันประเภททีม 9 ชุด
ผลการประกวดรางวัลทีมชนะเลิศ ได้แก่ทีมจาก อ.ห้างฉัตร ขึ้นรับถ้วยรางวัลพระราชทาน เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ประธานในพิธี มอบเกียรติบัตร ของที่ระลึกและเงินสนับสนุนจำนวน 30,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม อ.งาว รางวัลเงินสนับสนุน จำนวน 20,000 รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีม อ.เกาะคา รางวัลเงินสนับสนุน 10,000 บาท ได้รับถ้วยรางวัลและรางวัลรางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม อ.เสริมงาม แจ้ห่ม เมืองลำปาง เถิน สบปราบ เมืองปาน ได้รับรางวัลเงินสนับสนุนทีมละ 5,000บาท โดยการจัดงานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR จำนวนเงินกว่า 1.2 ล้านบาท
ทั้งนี้ OR ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของการสืบสานประเพณี “ตีก๋องปู่จา” หรือ “ตีกลองปูจา” (กลองบูชา) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมไทยล้านนาที่เกือบจะเลือนหายไป โดยการสนับสุนประเพณีดังกล่าวสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ OR ในการดำเนินธุรกิจ ที่พร้อม “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน” หรือ “Empowering All toward Inclusive Growth” เพื่อมุ่งสร้างคุณค่าให้แก่สังคมชุมชน รวมถึงการให้ความสำคัญกับการฟื้นฟู และอนุรักษ์ประเพณี ตลอดจนศิลปะวัฒนธรรมของไทย โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเยาวชนและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริง และจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการรักษาศิลปะวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่กับสังคมชุมชนอย่างยั่งยืน.
วินัย/ลำปาง รายงาน