รมว.ดีอี ขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ เต็มสูบ หวังฟื้นภาคการเกษตรไทย รุกต่อยอดใช้โดรนในอุตสาหกรรมหนัก สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

รมว.ดีอี ขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ เต็มสูบ หวังฟื้นภาคการเกษตรไทย รุกต่อยอดใช้โดรนในอุตสาหกรรมหนัก สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สาขาอาชีพอื่นๆ

เมื่อวันที่ 16กพ67 ที่ลานอเนกประสงค์ ชั้น 1 อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตอลเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) เพื่อช่วยแก้ปัญหาความยากจนให้กับเกษตรกรด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโดรนเพื่อการเกษตรในกระบวนการเพาะปลูก พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้และทักษะ เพื่อนำไปสู่การสร้างอาชีพใหม่แก่คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น ช่างซ่อมโดรนชุมชน และผู้ให้บริการบินโดรนเกษตรชุมชน

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า สำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า ได้ร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ดำเนินการพัฒนาศูนย์พัฒนาทักษะการบินและควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร สำหรับเป็นสถานที่ในการพัฒนาศักยภาพการบังคับโดรนเพื่อการเกษตร ระยะแรก มีการดำเนินงาน 5 จังหวัด คือ พิษณุโลก ขอนแก่น อุบลราชธานี ชลบุรี และสงขลา พร้อมเปิดบริการเต็มรูปแบบ ครบทุกสาขาภายในปี 2567 รวมถึง เปิดศูนย์ซ่อมโดรนเพื่อการเกษตร บริการซ่อมบำรุงโดรนเพื่อการเกษตรให้ชุมชน เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และยกระดับชุมชนให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยพัฒนาช่างในวิชาชีพแขนงต่างๆ เช่น ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้าวิทยุ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยมีจำนวน 50 ศูนย์ซ่อม 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ ดำเนินการรูปแบบ Change Agent 1 ศูนย์ซ่อม ดูแลรับผิดชอบ 10 ชุมชน โดยมีเป้าหมาย 50 ศูนย์ซ่อม 500 ชุมชน โดยในระยะเวลา 1 ปีของการดำเนินโครงการจะเกิดศูนย์บริการฯ ทั่วประเทศจำนวน 50 ศูนย์ ผลักดันให้ชุมชนเกิดการประยุกต์ใช้โดรนเพื่อการเกษตรจำนวน 500 ชุมชน คิดเป็นพื้นที่ทางการเกษตรรวมไม่น้อยกว่า 4 ล้านไร่ พร้อมคาดหวังว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมโดรนโดยกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยมีมาตรฐาน Safety, Functionality, Security รวมทั้งการต่อยอดในการใช้โดรนไปยังสาขาวิชาชีพอื่น ๆ เช่น ก่อสร้าง การขนส่ง การสำรวจ หรือแม้แต่การขนย้ายคนในกรณีฉุกเฉิน เช่น เพลิงไหม้ ขนย้ายผู้บาดเจ็บภายในอาคาร รวมถึงการขยาย พัฒนาซอฟแวร์โดรนและสร้างพื้นฐานต่างๆ ด้านการคมนาคมทางอากาศอีกด้วย

กันตินันท์ เรืองประโคน ผู้สื่อข่าวภูมิภาค นครราชสีมา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *