ลำปาง -บูรณาการในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนลำปางร่วมใจ สร้างฟ้าใสไร้หมอกควัน”

ลำปาง -บูรณาการในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนลำปางร่วมใจ สร้างฟ้าใสไร้หมอกควัน”

วันที่ 27 ม.ค.2567 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ห้องประชุมอาลัมภางค์ ศาลากลางจังหวัดลำปาง มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อบูรณาการกันในทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน ในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ภายใต้วิสัยทัศน์ “คนลำปางร่วมใจ สร้างฟ้าใสไร้หมอกควัน” เมื่อวันที่ผ่านมา โดยมีนายชนาธิป เสมแย้ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานการประชุมคณะทำงานติดตามสถานการณ์ (War Room ระดับจังหวัด) ครั้งที่ 1/2567

ที่ประชุมได้เปิดศูนย์ติดตามสถานการณ์ (War Room ระดับอำเภอ และระดับตำบล)
ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค.2567 เป็นต้นไป และกำหนดวันประชุมศูนย์ติดตามสถานการณ์ (War Room ระดับจังหวัด) ในทุกวันจันทร์ เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักงาน ปภ.ลำปาง ทั้งนี้ จ.ลำปางได้กำหนดค่าเป้าหมายในการดำเนินงานฯ ของ จ.ลำปาง พื้นที่เป้าหมายสะสม ลดลงร้อยละ 50 จากปี 2566 จำนวน 767,100 ไร่ ปี 2567 ไม่เกิน 383,550 ไร่ จุดความร้อนสะสม (Hotspot) ลดลงร้อยละ 50 จากปี 2566 จำนวน 7,897 จุด ปี 2567 ไม่เกิน 3,949 จุด จำนวนวันที่มีค่า PM2.5 เกินค่ามาตรฐานลดลงร้อยละ 50 จากปี พ.ศ.2566 ไม่เกิน 53 วัน

ขอความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมไฟป่า กรณีการจุดไฟผาป่าหรือปล่อยให้ไฟลุกลามเข้าไปในพื้นที่ป่าตาม พรบ.ป่าไม้ พ.ศ.2584 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย มีความผิดจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีบุคคลเผาป่าเป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปีและปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท และ พื้นที่ตาม พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย มีความผิด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท ในกรณีบุคคลใดเผาป่าเป็นเนื้อที่เกิน 25 ไร่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึง 20 ปีและปรับตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 2,000,000บาท

และ 3. พรบ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 97 ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบตัวยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐ หรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่ทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น

ทางด้าน นพ.ขจร วินัยพานิช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง ประชุมคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Emergency Operation Center :EOC) กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดลำปาง และได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานสาธารณสุขในสังกัดดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1. ดำเนินการตามข้อสั่งการและแนวทางการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข
2.กำชับบุคลากร สธ.และ อสม.เฝ้าระวังแจ้งเตือนสถานการณ์และสื่อสารเป็นประจำทุกวัน
3. จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจประชาชน ในสถานบริการและชุมชน
4.ให้ทุกโรงพยาบาลเปิดคลินิกมลพิษ และคลินิกมลพิษออนไลน์
5.ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ในการวินิจฉัย ดูแลและรักษา ผู้ป่วยที่วินิจฉัย J44.1
6. โรงพยาบาลจัดเตรียมยา-เวชภัณฑ์ ให้เพียงพอการให้บริการผู้ป่วย
7. ติดตามเยี่ยมบ้านดูแลกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ โดยทีม 3 หมอ ในกลุ่มเสี่ยงประกอบด้วย กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะ COPD Asthma
8. ให้หน่วยงานสาธารณสุขทุกแห่ง จัดทำห้องปลอดฝุ่น ประเภท 2
9. ส่งเสริมการจัดห้องปลอดฝุ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง ตามเกณฑ์กรมอนามัย
10.ให้รายงานกิจกรรม/ผลการดำเนินงาน ทุกสัปดาห์.

วินัย/ลำปาง รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *