ลำปาง- แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” 4ครั้ง/เดือน ล่าสุดมีลูกหนี้ทะเบียนแล้ว 1,137 ราย เจ้าหนี้ 1,048 ราย ยอดหนี้กว่า 50 ล้านบาท

ลำปาง- แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” 4ครั้ง/เดือน ล่าสุดมีลูกหนี้ทะเบียนแล้ว 1,137 ราย เจ้าหนี้ 1,048 ราย ยอดหนี้กว่า 50 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2567 ที่ จ.ลำปาง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบและกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” จ.ลำปางได้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้มีอิทธิพลของจังหวัดลำปาง และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบระดับจังหวัดและระดับอำเภอ และจัดตลาดนัดแก้หนี้เดือนละ 4 ครั้ง ประชาสัมพันธ์การรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ และรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2566 – 29 ก.พ. 2567 ซึ่งสามารถลงทะเบียนได้ 2 ช่องทาง คือ ลงทะเบียนด้วยตนเอง (online) ผ่านแอปพลิเคชั่น ไทยดี (ThaiD) และลงทะเบียน ณ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกแห่ง (Walk-in)

ทั้งนั้ ข้อมูลผู้ลงทะเบียนหนี้นอกระบบของ จ.ลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 – 22 ม.ค. 2567 มีผู้ลงทะเบียนด้วยตนเอง (Online) จำนวน 1,053 ราย และ Walk-in จำนวน 84 ราย จำนวนผู้ลงทะเบียนทั้งหมด 1,137 ราย จำนวนเจ้าหนี้ 1,048 ราย ยอดหนี้รวม 50,347,908.84 บาท ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ จำนวน 87 ราย และไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้นอกระบบซึ่งปัจจุบันมีลูกหนี้และเจ้าหนี้สมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยแล้ว จำนวน 39 ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 38 ราย มูลหนี้ที่ดำเนินการไกล่เกลี่ย 5,606,611.71 บาท ลูกหนี้ มีความประสงค์ให้รัฐหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 29 ราย

โดย จ.ลำปาง ได้กำหนดแผนการจัดกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” ในพื้นที่ทั้ง 13 อำเภอของจังหวัด อย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยประชาชนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดลำปาง และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ทุกอำเภอ นอกจากนี้ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาข้อมูลบูกหนี้ ไม่สมบูรณ์ครบถ้วน บางรายให้ท่อยู่ เบอร์โทร.ไม่ถูกต้องืำให้ติดตามตัวไม่ได้ ในการนี้ผุ้ว่าฯลำปาง ได้สั่งการณ์ให้ทุกอำเภอ ติดตามคนที่ลงทะเบียนไว้ม่ให้ข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามกระบวนการต่อไป

นายชัชวลย์ กล่าวอีกว่า การลงทะเบียนในระบบออนไลน์ ไม่อยู่ในพื้นที่ ทำให้ติดต่อไม่สะดวก เจ้าหนี้และลูกหนี้มีเวลาไม่ตรงกันก็เป็นปัญหาหนึ่งในการไกล่เกลี่ยหนี้ อย่างไรก็ตามถ้าคู่กรณีไม่เข้าขบวนการไกล่เกลี่ยทางจังหวัดไม่สามารถบังคับได้ ห่กไกล่เกลี่ยแล้วตกลงกันไม่ได้ ก็จะ เข้าสู่ขบวนการตรวจสอบ เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครอง.

วินัย/ลำปาง รายงาน/ภาพแฟ้มข่าว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *