#ชมคลิป ผู้ว่าสั่ง กปภ.จ.น่าน ร่วมภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนทุกแขนง รณรงค์หยุดเผาป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 เด็ดขาด 45 วัน

ผู้ว่าสั่ง กปภ.จ.น่าน ร่วมภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนทุกแขนง รณรงค์หยุดเผาป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 เด็ดขาด 45 วัน
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารภัยจังหวัดน่าน ร่วมกับหน่วยงาน ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และสื่อมวลชนทุกแขนง รณรงค์หยุดการเผาป่า แก้ปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ห้ามเผาเด็ดขาด 45 วัน ช่วงวันที่ 15 มี.ค.- 30 เม.ย.67 ร่วมกันสร้างน่านเมืองท้องฟ้าสดใส น่านเมืองลมหายใจสะอาดน่านเมืองปราศจากไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะปีนี้ได้สื่อมวลชนทุกแขนง มาร่วมประชาสัมพันธ์ ร่วมทำงานด้วยกัน จังหวัดน่านคาดหวังปีนี้ 2567 จะสามารถควบคุมปัญหาการเผาป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ไม่ถึงขั้นวิกฤต ไม่เป็นปัญหากระทบต่อสุขภาพชีวิตของ คนเมืองน่าน
เมื่อวันที่ 16 ม.ค.67 ณ ศูนย์ WAR ROOM บก.ส่วนหน้า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) จังหวัดน่าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน บูรณาการ่วม สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) นาย กมล นวลใย ผู้อำนวยการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) นายต่อพงศ์ จันโทภาส ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า ผู้อำนวยการอุทยานแห่งชาติจังหวัด ทั้ง 7 แห่ง นายวรวิทย์ อินต๊ะใจ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน นางสาวธนวัน ชุมแสง. ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน นางสุดา ดูงาม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนทุกแขนง และภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดน่าน ร่วม ประชุมเตรียมความพร้อมและกำหนดมาตรการรับมือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง (PM 2.5) ตามนโยบายรัฐบาล ของนายกรัฐมนตรีนายเศรษฐา ทวีสิน ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับ ฝุ่นละอองหรือ PM 2.5 ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชนที่รุนแรงขึ้นทุกปีโดยกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ
นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน กล่าวว่า การแก้ปัญหาไฟป่าจังหวัดน่าน ปี 2567 โดยนำปัญหาของปีที่แล้ว 2566 เป็นตัวตั้งการเกิดไฟป่าเกิดจากอะไร นำมาวิเคราะห์ ก็พบว่าเมื่อปี 2566 เราห้ามเผาเด็ดขาดเป็นเวลา 75 วัน จาก 15 ก.พ.- 30 เม.ย. ปัญหาที่เกิดไฟป่าก็ยังสูงอยู่ ปีนี้ 25667 ได้มีการประชุมทุกภาคส่วนปรับเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาเป็นระยะเวลาลดลง โดยใช้มาตรการควบคู่กันไป
ประการที่ 1.ลดจำนวนวันลงเหลือ 45 วัน จาก 15 มี.ค. 67 – 30 เม.ย.67 เป็นช่วงห้ามเผาเด็ดขาด
ประการที่ 2 กำหนดวันห้ามเผาก่อนเด็ดขาด ในช่วงนี้เป็นการบริหารเชื้อเพลิง กำหนดโซน พื้นที่ วัน เวลา ในเรื่องของการจัดการเชื้อเพลิง ในเรื่องของการจัดการเผา ให้ดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการบริหารเชื้อเพลิง จัดทำเป็นแผน โดยขอความร่วมมือจากเกษตรกร พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ในการมาลงทะเบียน ที่จะเผาเชื้อเพลิง อย่างไร
ประการที่ 3 หลังเผา จะสร้างความเข้าใจขอความร่วมมือช่วงห้ามเผาจะทำอย่างไร โดยห้ามเผาอย่างเด็ดขาด ในส่วนที่จะทำการเพาะปลูกต้องทำก่อนช่วงการห้ามเผา เด็ดขาด และช่วงหลัง ช่วงห้ามเผาเด็ดขาด
ปีนี้บูรณาการทำงานร่วมกัน ในส่วนของกองทัพบกลงมาร่วมด้วย โดย มทบ.38 จัดชุดรณรงค์ลงไป ในพื้นที่เคาะประตูบ้าน ในช่วงก่อนห้ามเผาเด็ดขาด สร้างความรู้ความเข้าใจทำไมต้องห้ามเผา ช่วงนี้จะใช้มาตรการเด็ดขาดทางกฎหมาย ในช่วงของ 45 วัน ห้ามเผาเด็ดขาด

 

 

โดยเฉพาะปีนี้ได้สื่อมวลชนทุกแขนง มาร่วมประชาสัมพันธ์ ร่วมทำงานด้วยกัน จังหวัดน่านคาดหวังปีนี้ 2567 จะสามารถควบคุมปัญหาการเผาป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 ได้ไม่ถึงขั้นวิกฤต ไม่เป็นปัญหากระทบต่อสุขภาพชีวิตของ คนเมืองน่าน
การประชุมวันนี้เพื่อ วางมาตรการพื้นที่สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เก็บหาของป่า ล่าสัตว์ เลี้ยงปศุสัตว์ ทำแนวกันไฟ จัดการเชื้อเพลิงก่อนถึงฤดูกาล การเผาป่า มุ่งเน้น ไม่เผา เป็นอันดับแรก จัดระเบียบการการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ทำกิน พื้นที่การเกษตรในป่า ตาม ม.64/ม.121 การตรึงพื้นที่เสี่ยว ชุดสกัด ทางเข้าป่า เฝ้าระวังพื้นที่ไหม้ซ้ำซาก ในห้วงฤดูกาลไฟป่า (เพราะคนจุด) ห้วงเดือน ก.พ.67
จัดเจ้าหน้าที่ตรึงพื้นที่ เผ้าระวังป้องกันการเผาป่า จำนวน 8 พื้นที่ รวม 220 จุด ๆ ละไม่น้อยกว่า 3 นาย จุดสกัดทางเข้าป่า 95 จุด จุดเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยวง/ไหม้ซ้ำซาก 125 จุด เป้าหมายอยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา เห็นไฟไว เข้าถึงไว ควบคุมและดับไฟได้ไว
กำหนดแผนบริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือแผนระดมพลดับไฟป่า สถานการณ์ควบคุมได้ โดย ผู้บัญชาเหตุการณ์/นายอำเภอแห่งพื้นที่/หน.ป่าอนุรักษ์แห่งพื้นที่ สาถานการณ์รุนแรง โดย ผู้ว่าราชการจังหวัด ท้องที่จังหวัดน่าน /ผู้บัญชาเหาตุการณ์ สถานการณ์วิกฤต โดย อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช/ผู้บัญชาเหตการณ์
การจัดระเบียบการเข้า – ออก พื้นที่ป่าอนุรักษ์ในห้ห้วงฤดูไฟป่าน จัดประชุม ลงทะเบียนประชาชนที่ประสงค์ เข้า-ออก พื้นที่ป่า ออกบัตรอนุญาต เข้า-ออก,ป้องกันบุคลต่างถิ่นที่จะเข้าไปกระทำผิด/จุดไฟเฝาป่า
จัดระเบียบการเลี้ยงปศุสัตว์ในป่า กำหนดพื้นที่/กำหนดปริมาณ/กำหนดห้วงเวลาให้สอดคล้องแต่ละพื้นที่
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ห้ามเผาป่า – ช่วยดับไฟป่า ในลักษณะ เดิน เคาะประตูบ้าน สร้างความเข้าใจ ความตระหนัก สร้างจิตสำนึก เพื่อบรรลุเป้าหมาย ลด Hotspot/ลดพื้นที่การเผาไหม้ ลง 50 % เปรียบเทียบกับปี 2566
เพื่อร่วมกันสร้าง น่าน เมืองท้องฟ้าสดใส น่าน ลมหายใจสะอาด ปราศจากไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น ละออง PM 2.5
นายต่อพงศ์ จันโทภาส ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า กล่าวว่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 13 (แพร่) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ น่าน – แพร่ ได้กำหนดมาตรการ และแนวทางปฏิบัติ ตอบสนองต่อนโยบายข้างต้น 10 ประการ จังหวัดน่านมีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 7.6 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์รวม 8 แห่ง ประมาณ 2.8 ล้านไร่ แบ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ 7 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่งในปี พ.ศ 2566 พบจุด Hotspot ในพื้นที่จังหวัดน่านประมาณ 11,000 กว่าจุด อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประมาณ 4,500 จุดแบ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ ดอยภูคา 1,700 จุดอุทยานศรีน่าน 1,300 จุดและพื้นที่อื่นๆ เรียงลงไปตามลำดับ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 13 (แพร่) ได้กำหนดมาตรการนำไปสู่ภาคปฏิบัติในระดับพื้นที่ดังต่อไปนี้ การจัดตั้ง War Room สำนักฯ 13 (แพร่) ได้จัดตั้ง War Room ในระดับสำนักฯ 1 แห่ง และ War Room ศูนย์บูรณาการส่วนหน้าจังหวัดน่านอีก 1 แห่งรวมทั้ง War Room ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั้ง 8 แห่ง ร่วมประสานกับ War Room ระดับอำเภอและตำบล ซึ่งมีท่านนายอำเภอและนายก อปท. แห่งท้องที่เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ เพื่อร่วมกันคิดวางแผนและดำเนินการตลอดจนการติดตามให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *