นครพนม-มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม สวมผ้าไทยเฉิดฉายบนเกาะอังกฤษ ร่วมหารือเวทีสมัชชา ชูซอฟต์พาวเวอร์ผ้าไทย หนุนเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ชุมชน

นครพนม-มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม สวมผ้าไทยเฉิดฉายบนเกาะอังกฤษ ร่วมหารือเวทีสมัชชา ชูซอฟต์พาวเวอร์ผ้าไทย หนุนเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้ชุมชน
/////
ดร.มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม/ส.ส.นครพนมเขต 2 พรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว ว่า ในการประชุมร่วมคณะมนตรี ( Council) ครั้งที่ 130 และ การประชุมสมัชชา ( Assembly ) ครั้งที่ 33 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2566 ณ สำนักงานใหญ่ IMO กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตนได้นำผู้บริหารกระทรวงคมนาคม เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการร่วมเวทีประชุมหารือระหว่างประเทศ โดยมีประเด็นหลักสำคัญ เกี่ยวกับมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทะเล ความมั่นคง และ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากการเดินเรือ รวมทั้งการช่วยเหลือประเทศสมาชิก ในการปฏิบัติตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติภายใต้อนุสัญญาฉบับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศสมาชิก ซึ่งมีทั้งหมด 175 ประเทศ
การประชุมครั้งนี้ถือว่าสำคัญมาก เป็นการโชว์วิสัยทัศน์ ในนามตัวแทนประเทศไทย เพื่อเป็นการหาเสียง ชูทิศทางการพัฒนาการคมนาคมขนส่งทางน้ำ เพื่อรองรับการเติบโต พัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบการคมนาคมทางน้ำ ที่จะเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยในอนาคต
รมช.คมนาคม กล่าวต่อว่า “ทั้งนี้จะส่งผลต่อการหาเสียงในการเลือกตั้ง คณะมนตรี ที่เป็นส่วนหนึ่งของ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ IMO ที่ประกอบด้วยผู้แทนสมาชิก จำนวน 40 ประเทศ มีวาระการทำงาน 2 ปี เพื่อทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติแผนงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทะเล และประเทศไทยเราเข้าร่วมสมาชิก ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2516 ปัจจุบันครบ 50 ปี โดยเป้าหมายสำคัญประเทศไทย จะต้องได้รับการเลือกเป็นตัวแทนสมาชิก ที่จะเกิดประโยชน์ในการเสนอนโยบาย กำหนดทิศทางในการคมนาคมทางทะเล ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว ของประเทศไทย ในอนาคต สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล สำหรับการขอรับเสียงสนับสนุนซึ่งกันและกันในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO ในกลุ่ม C วาระปี ค.ศ. 2024 – 2025 จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ที่จะถึงนี้”
นอกจากนี้ ดร.มนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม กล่าวอีกว่า ในการประชุมร่วมคณะมนตรี รวมถึงการประชุมสมัชชาขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ตนรู้สึกภาคภูมิใจมาก ไม่เพียงได้มีโอกาสนำเสนอแนวทางกรอบนโยบายการพัฒนาด้านการคมนาคมทางน้ำระหว่างประเทศ ยังได้มีการชูซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) ผ้าไทย ด้วยการสวมชุดผ้าไหมพื้นเมืองหัตกรรมแฮนด์เมด (Handmade) ที่เป็นภูมิปัญญาของคนไทย เป็นการส่งเสริมด้านการตลาด ให้ผู้บริหารจากต่างประเทศได้เห็นความสวยงามของผ้าไทย รวมถึงเป็นการเพิ่มมูลค่า ส่งเสริมด้านการตลาด หนุนเพิ่มมูลค่าสร้างรายได้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่ง
//ภาพ-ข่าว//พงศ์สุคนธ์ คุณธรรมมงคล//นครพนม (061-2838566)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *