#ชมภาพชาวอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรม”เอามื้อสามัคคี ทำความดี ถวายเป็นพระราชกุศล”พื้นที่เรียนรู้ชุมชนตันแบบการพัฒนาคุณภาพ โคก หนองนา โมเดล

ชาวแม่สะเรียงเอามื้อ ทำความดี

ชาวอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรม”เอามื้อสามัคคี ทำความดี ถวายเป็นพระราชกุศล”พื้นที่เรียนรู้ชุมชนตันแบบการพัฒนาคุณภาพ โคก หนองนา โมเดล

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นายสุรเชษฐ์ พุ้ยน้อย นายอำเภอแม่สะเรียง ได้เดินทางเป็นประธานและร่วมกิจกรรม”เอามื้อสามัคคี ทำความดี ถวายเป็นพระราชกุศล” พื้นที่เรียนรู้ชุมชนตันแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต “โคก หนอง นา โมเดล” นายบุญมาก นาดี บ้านห้วยหลวง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง โดยมี ว่าที่พันตรี รณยุทธ์ มโนวงศ์ พัฒนาการอำเภอแม่สะเรียง นำ หัวหน้าส่วนราชการ ทหารพรานที่ 36 และเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา” เข้าร่วมกิจกรรม เอามื้อสามัคคี ทำความดี ถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล วันที่ 5 พฤษภาคม 2567 และโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายน 2567

ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนขับเคลื่อนโครงการ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 24 กรกฎาคม 2567 โครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนองนา” กำหนดขับเคลื่อนในห้วงเดือนพฤศจิกายน 2566 – เดือนมิถุนายน 2567 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ กิจกรรม “แบ่งปันกล้าไม้ จากแปลง โคก หนอง นา สู่ประชาชนโดยรอบ” ดำเนินการโดยพื้นที่ต้นแบบทุกแห่ง ๆ ละ 73 ต้น กิจกรรม “เอามื้อสามัคคี ทำความดี ถวายเป็นพระราชกุศล” ดำเนินการโดยเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา” ระดับจังหวัดและอำเภอ โดยสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม”เอามื้อสามัคคี” ในพื้นที่ต้นแบบ ทุกแห่ง ๆละไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง

 

 

อำเภอแม่สะเรียง จึงได้ดำเนินการ Kick off “เอามื้อสามัคคี ทำความดี ถวายเป็นพระราชกุศล” ในพื้นที่นายบุญมาก นาดี บ้านห้วยหลวง หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง กิจกรรมที่ดำเนินการในวันนี้ ได้แก่ การเอามื้อสามัคคี เกี่ยวข้าว ตีข้าว และการเพาะเห็ดฟาง การเอามื้อสามัคคี เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นและแสดงให้เห็นถึงการร่วมแรง ร่วมใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการรื้อพื้นเอาวิถีชีวิตดั้งเดิมวัฒนธรรมอันดี ของคนไทย ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ เกิดเครือข่ายที่มีพลังและความสามัคคีเมื่อ เสร็จจากกิจกรรมลงมือปฏิบัติก็มีทานอาหารร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคี ปรองดองกันช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สามารถเป็นพลังของชุมชนที่เข้มแข็งได้
——————————-
ทศพล / แม่ฮ่องสอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *