จ.ศรีสะเกษ ทุกชาวนาพ่อเมืองกำชับท้องถิ่นและท้องที่ร่วมดูแลจัดลานตากข้าวช่วยเหลือชาวนาลดใช้ถนนตากข้าว จนกระทบส่วนรวม ขณะที่ชาวนาเผยที่ตากข้าวในวัด ร.ร.และสถานที่สาธารณะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องตากข้าวในถนน เพราะว่าปีหนึ่งมีทำนาครั้งเดียวควรแจ้งให้ชาวนา

จ.ศรีสะเกษ ทุกชาวนาพ่อเมืองกำชับท้องถิ่นและท้องที่ร่วมดูแลจัดลานตากข้าวช่วยเหลือชาวนาลดใช้ถนนตากข้าว จนกระทบส่วนรวม ขณะที่ชาวนาเผยที่ตากข้าวในวัด ร.ร.และสถานที่สาธารณะไม่เพียงพอ จำเป็นต้องตากข้าวในถนน เพราะว่าปีหนึ่งมีทำนาครั้งเดียวควรแจ้งให้ชาวนาที่ตากข้าวในถนนทำเครื่องหมายให้รู้ว่ามีการตากข้าวบริเวณริมถนนเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนน

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จ.ศรีสะเกษ ปีฤดูกาลผลิต 2566/67 ได้รับประโยชน์สูงสุดในการจำหน่ายผลผลิตข้าวนาปี จึงได้สั่งการให้ทุกอำเภอประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกำนันผู้ใหญ่บ้าน ร่วมบริหารจัดการลานตากข้าวให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์กับเกษตรกร ที่สำคัญป้องกันอันตรายจากการตากข้าวตามถนนหรือขอบถนน ซึ่งถือว่ากระทบต่อส่วนรวมได้ เนื่องจากเป็นเส้นทางสัญจรไปมาของประชาชน จึงขอให้นำไปตากในลานหมู่บ้านชุมชน พร้อมประสานขอตากในลานวัด หรือ บริเวณสนามโรงเรียน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกลางคืนที่ค่อนข้างมืดมาก

นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวนา จ.ศรีสะเกษ มีประมาณ 3,000,000 ไร่ คาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกปีนี้ ประมาณ 1,228,000 ตัน ส่วนใหญ่เกษตรกรจะขายเป็นข้าวสด ในราคาประมาณ 10.50 – 11.50 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว จึงขอให้เกษตรกรได้ชะลอการขายข้าว โดยให้ทำการตากและรักษาคุณภาพข้าว ซึ่งจะทำให้ข้าวมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการของตลาด ที่สำคัญมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนด้วย

ทางด้าน นางกัญญาณัฐ พรแก้ว อายุ 55 ปี ชาวนา ต.น้ำคำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ตนต้องขอขอบพระคุณท่าน ผวจ.ศรีสะเกษที่ได้ใส่ใจห่วงใยในเรื่องนี้ ตนและครอบครัวทำนา 35 ไร่ ส่วนญาติพี่น้องและชาวนาคนอื่น ๆ ในหมู่บ้านเดียวกันต่างพากันทำนาคนละ 10 – 30 ไร่ เพราะว่าเป็นอาชีพหลักของพวกตน 1 ปีที่ทำนาเพียงครั้งเดียว ดังนั้น เมื่อต้องทำการเก็บเกี่ยวข้าวพร้อมกันทำให้สถานที่ตากข้าวเพื่อให้ข้าวแห้งจึงมีสถานที่ไม่เพียงพอ โดยชาวนา 1 ครอบครัวจะต้องตากข้าวเปลือกให้แห้งคนละ 1 – 2 วัน ทำให้บริเวณ ร.ร. วัด และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ในบริเวณหมู่บ้านของพวกตนไม่เพียงพอต่อการให้ชาวนาใช้ในการตากข้าว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้บริเวณไหล่ถนนในการตากข้าวเพื่อให้ข้าวเปลือกแห้ง และทำให้ข้าวเปลือกมีคุณภาพที่ดี สามารถขายได้ราคาดีเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของชาวนา

นางกัญญาณัฐ พรแก้ว อายุ 55 ปี กล่าวต่อไปว่า ตนจึงเห็นว่า ชาวนาที่จำเป็นต้องตากข้าวบริเวณริมถนนในหมู่บ้านหรือถนนระหว่างหมู่บ้านว่า การตากข้าวริมถนนอาจจะเป็นการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ว่าก็เนื่องด้วยความจำเป็นของชาวนาที่ไม่สถานที่ตากข้าว ดังนั้น ตนเห็นว่า ชาวนาจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนผ่านบริเวณที่ชาวนาตากข้าว โดยการต้องทำเครื่องหมายแสดงให้รู้ว่า บริเวณข้างถนนมีการตากข้าว โดยอาจจะนำเอาตอซังข้าวมาวางบริเวณบนถนนก่อนที่จะถึงบริเวณที่มีการตากข้าวประมาณ 20 – 30 เมตร เพื่อเป็นการเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนให้ทราบว่า บริเวณถนนข้างหน้ามีการตากข้าวของชาวนา เพื่อเป็นการช่วยเหลือชาวนาให้มีที่ตากข้าวในช่วงฤดูกาลผลิตข้าวปีนี้และปีต่อๆ ไปด้วย///////

ภาพ / ข่าว ศิริเกษ หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ศรีสะเกษ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *