กาญจนบุรี ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านที่สร้างบ้านเรือนรุกล้ำพื้นที่อ่างเก็บน้ำเริ่มได้รับผลกระทบ ขณะที่ ผอ.เขื่อนเขาแหลมเผยส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งในปี 2567

กาญจนบุรี ระดับน้ำอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านที่สร้างบ้านเรือนรุกล้ำพื้นที่อ่างเก็บน้ำเริ่มได้รับผลกระทบ ขณะที่ ผอ.เขื่อนเขาแหลมเผยส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งในปี 2567


วันที่ 10 ตุลาคม 2566 ชาวบ้านวังกะ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่สร้างบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ บริเวณสะพานไม้อุตตมานุสรณ์ (สะพานมอญ) เริ่มวิตกกังวลกับจากที่ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหลายครอบครัวต้องเฝ้าติดตามระดับน้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมเก็บของขึ้นที่สูงเพื่อเป็นการเตรียมตัว
เช่นเดียวกับผู้ประกอบการร้านจำหน่ายของที่ระลึก และเสื้อผ้าพื้นเมือง รวมทั้งรีสอร์ท ที่พักโฮมสเตย์ เนื่องจากหากระดับน้ำสูงขึ้นอีกสัก 1 เมตร จะส่งผลให้ต้องปิดร้านและย้ายขึ้นไปหาที่ขายของใหม่ ขณะที่ผู้ประกอบการที่พักบางรายเริ่มเตรียมกระสอบทรายมาเตรียมไว้เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าที่พัก ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ทุกคนต่างรู้ดีและเตรียมทำใจยอมรับ เนื่องจากพื้นที่ที่อาศํยอยู่เป็นพื้นที่รองรับน้ำของเขื่อนวชิราลงกรณ ซึ่งระดับน้ำไม่ได้สูงจนทำให้น้ำท่วมทุกปี
ขณะที่ระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของอำเภอสังขละบุรี เพราะทำให้วัดจมน้ำ(วัดวังก์วิเวการามเดิม) หรือเมืองบาดาล สถานที่ท่องเที่ยวUNSEEN ของอำเภอสังขละบุรี ที่เป็นอีกจุดเช็คอินสำคัญของนักท่องเที่ยว ในการเดินทามาเที่ยวอำเภอสังขละบุรี มีความสวยงาม โดยระดับน้ำแตะบริเวณหลังคาหอระฆังกลายเป็นภาพที่นักท่องเที่ยวหลายคนอยากเห็น เนื่องจากไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ขณะที่โบสถ์เก่ายังคงโผล่พ้นน้ำประมาณ2เมตร แต่หากยังคงมีฝนตก และทางเขื่อนวชิราลงกรณ ยังคงกักเก็บน้ำเชื่อว่าภายในสิ้นเดือนน้ำโบสถ์แห่งนี้น่าจะจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้งในรอบหลายปี
ด้านนายชวลิต กันคำ ผู้อำนวยการเขื่อนวชิราลงกรณ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าขณะนี้ระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ที่ 7,548 ล้าน.ลูกบาตรเมตร เท่ากับ 80.14% มากกว่าปีที่แล้ว ขณะที่ระดับน้ำยังคงมีโอกาสเพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากยังคงมีแนวโน้มที่จะมีฝนตกในพื้นที่เหนือเขื่อนจากอิทธิพลพายุ ที่ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก ซึ่งระดับน้ำที่มีอยู่ในตอนนี้จะส่งผลดีต่อการรับมือภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2567 ที่จะถึงนี้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังจำต้องขอความร่วมมือประชาชนและเกษตรกร ใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผนในการเพาะปลูกพืชอายุสั้น และใช้น้ำน้อย เพื่อร่วมมือกันรับมือภัยแล้งที่กำลังจะมาถึง
เกษร เสมจันทร์ กาญจนบุรี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *