กลุ่มผู้สูงอายุของศูนย์เรียนรู้ผู้สูงวัยต้นแบบ รวมตัวกันสืบสานวัฒนธรรมของชาวปักษ์ใต้ ในการร้อยลูกปัดที่ใช้ในการแสดงรำมโนราห์ ศิลปะการแสดของชาวใต้ เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสมาธิให้กับผู้สูงอายุ

กลุ่มผู้สูงอายุของศูนย์เรียนรู้ผู้สูงวัยต้นแบบ รวมตัวกันสืบสานวัฒนธรรมของชาวปักษ์ใต้ ในการร้อยลูกปัดที่ใช้ในการแสดงรำมโนราห์ ศิลปะการแสดของชาวใต้ เพื่อเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสมาธิให้กับผู้สูงอายุ

 

 

 

 

นางสมจิตร กลับวิเศษ อายุ 69 ปี ข้าราชการบำนาญวิชาชีพครู กล่าวว่า หลังจากที่ตนได้เกษียร์อายุราชการมานานหลายปีไม่รู้จะทำอะไรเพื่อให้เป็นการคลายเหงาหรือคลายเครียดอีกทั้งเป็นการเสริมเวลาว่าง ไม่ให้เป็นภาระของลูกหลาน ถามว่าทำไม่มาใช้ลูกปัดมโนราห์เนื่องจากสมัยที่เรียนหนังสืออยู่ที่วอทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ถูกบังคับให้นักศึกษามารำมโนราห์ ซึ่งเป็นมโนราห์เขต หลังจากนั้นก็ห่างหายไปจนจบมหาวิทยาลัย เอกชีววิทยา แล้วมาบรรจุเป็นครูสอนอยู่ที่โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี สอนชีววิทยามา 30 ปี เมื่อเกษียร์อายุราชการแล้วเดินทางไปสังสรรค์รุ่นที่จังหวัดพัทลุง เห็นเพื่อนใส่ลูกปัดมโนราห์ซึ่งสวยมาก หลากหลายสีสัน ถูกตาต้องใจแต่ไม่กล้าขอ เพียงแต่ได้ถ่ายรูปมา เห็นว่าสวยมากจึงมาหัดร้อยลูกปัดด้วยตัวเอง ถามเพื่อบ้าง จากยูทูปบ้าง ฝึกทักษะและเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะความชอบที่ได้เห็นลูกปัดมโนราห์มีความสวยงาม จนร้อยได้เป็นเส้นแรกมีความภาคภูมิใจแล้วนำมาใส่ แล้วมีคนชมว่าสวยและมีความต้องการ จึงได้ติดเปิดสอนขึ้นมา จากนั้นจึงได้ประสานกับอาจารย์ที่สอนหนังสือนักเรียน กศน.ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ซึ่งรุ่นนี้ที่สอนอยู่เป็นรุ่นที่ 5-6 แล้ว นักเรียนที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและสามารถที่จะนำเอาความรู้ที่ได้ไปต่อยอดได้ ลูกศิษย์ที่มาเรียนมีอายุ 50 ปี ปลายๆจนมีอายุสูงสุดประมาณ 77 ปี

 

 

ซึ่งคนที่มาเรียนร้อยลูกปัดมโนราห์หลังจากที่ได้สัมผัสกับเขาเหล่านั้นทำให้เขาเกิดความสงบทางด้านจิตใจ คลายเหงา และสร้างรายได้พิเศษให้กับผู้เรียน ซึ่งคนที่มาเรียนจะมีใจรักจริงๆเนื่องจากการร้อยลูกปักเป็นศิลปะวัฒนธรรมทางภาคใต้ที่ร้อยยาก ลูกเล็กรูที่จะสอดใส่ก็เล็ก จะเห็นว่าทุกคนที่มาเรียนร้อยละ 90 ใส่แว่นตาทุกคน
ทุกวันนี้มองว่าคนสุราษฎร์ธานีไม่ค่อยจะรู้จักลูกปัดมโนราห์เหมือนจังหวัดพัทลุงที่เขามีตนกำเนิดมาก่อน จึงอยากให้ทุกหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือสื่อมวลชนมาช่วยกันส่งเสริมเนื่องจากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาแต่บรรพบุรุษ หรือสมัยโบราณ อีกทั้งเป้นการร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญหาท้องถิ่นด้วยการร่วมกันร้อยลูกปัดมโนราห์ด้วยกัน
ส่วนลายที่ร้อยจะเป็นลายประจำยามหรือลายสามยานในสมัยก่อนจะใช้เป็นยามรักษาการณ์ เพื่อป้องกันผู้ที่คิดมิดีมิร้าย โจรกรรมของมีค่า โดยอาจจะมีการลงอาคมประกอบไว้ด้วยเมื่อใส่แล้วทำให้เกิดความอุ่นใจ ลายประจำยามมักจะใช้ประดับอยู่ตามเสา ขอยประตูหน้าต่าง หน้าต่างของโบสถ์วิหาร พลับพลาปราสาทและพระธาตุเป็นต้น
ลูกปัดมโนราห์ที่ร้อยส่วนใหญ่จะเป็นสร้อยคอ ต่างหูและทำเป็นพวงกุลแจ โดยสร้อยคอจะจำหน่ายในราคาเส้นละ 250-399 บาท ขึ้นกับความยากง่ายของลายที่ร้อย ต่างหูคู่ละ 65- 120 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด และพวงกุลแจ ชิ้นละ 65 บาท ดังนั้นท่านใดสนใจที่จะเรียนการร้อยลูกปัดมโนราห์ เพื่อสร้างรายได้เสิรม ติดต่อได้ที่ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงวัยต้นแบบระดับภาคใต้ หมายเลข 086-268-9284

 

 

ติดตามข่าวได้ที่เว็บไซต์
#คมชัด AEC TV ออนไลน์
#ข่าวนคร AEC TV ออนไลน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *