ครบรอบ 70 ปี วารศาสตร์ มธ. จัดสัมมนาวิชาการใหญ่  คว้าผู้นำด้าน Media Literacy จากทั่วโลก หวังสร้างเครือข่ายร่วมกัน ขับเคลื่อนภาคประชาชน รู้เท่าทันสื่อยุคดิจิทัล

ครบรอบ 70 ปี วารศาสตร์ มธ. จัดสัมมนาวิชาการใหญ่

คว้าผู้นำด้าน Media Literacy จากทั่วโลก หวังสร้างเครือข่ายร่วมกัน

ขับเคลื่อนภาคประชาชน รู้เท่าทันสื่อยุคดิจิทัล

กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2567 – คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์                        สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านสื่อ และการสื่อสารที่มีความเป็นมืออาชีพเพื่อสังคมที่หลากหลาย จัดสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ ในโอกาสครบรอบ 70 ปี วันสถาปนาคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “Digital media literacy movement: glocalising media literacy in cultural contexts and creating communities for building connections” การขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล โลกาเทศาภิวัฒน์การรู้เท่าทันสื่อในบริบททางวัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้   รวมสุดยอดผู้เชี่ยวชาญด้าน Media Literacy ที่จะมาร่วมผลักดันภาคประชาชน ให้ตระหนักรู้ และเข้าใจสื่อในทุกมิติ ณ ห้อง JM402 ชั้น 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   ท่าพระจันทร์

ผศ.ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ คณบดี คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า “ก้าวสู่ปีที่ 70 แล้ว ของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ในฐานะสถาบันการศึกษาด้านสื่อและการสื่อสารที่มีความเป็นมืออาชีพ และให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องสื่อ และความแตกต่าง หลากหลาย โดยเฉพาะปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระบบนิเวศน์สื่อ งานสัมมนาครั้งนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันด้าน Media Literacy ทั้งในประเทศไทยในระดับเอเชีย ยุโรป และอเมริกา โดยเราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน Media Literacy จากหลากหลายวงการ อาทิ ศาสตราจารย์จอห์น พอตเตอร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านสื่อดิจิทัล เทคโนโลยี และการศึกษา จากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ศาสตราจารย์ Julian McDougall ศาสตราจารย์ด้านสื่อ และการศึกษา ร่วมถึงเป็นผู้อำนวยการ The Centre for Excellence in Media Practice (CEMP) มหาวิทยาลัยบอร์นมัธ สหราชอาณาจักร, ศาสตรจารย์ Shin Mizukoshi ศาสตราจารย์ทางด้านสื่อศึกษา คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยคันไซ ประเทศญี่ปุ่น และอีกมากมาย  เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นที่หลากหลาย ทั้งเรื่องการสร้างพลเมือง (active citizen) หรือการพูดคุยในประเด็นเรื่องการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนพลเมือง รวมถึงเรื่อง Media Education การศึกษาสื่อ  เพื่อสร้างการตระหนักรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลง และรู้เท่าทันสื่อในทุกมิติ”

 

สำหรับงานสัมมนาวิชาการด้านนานาชาติ ในหัวข้อ “Digital media literacy movement: glocalising media literacy in cultural contexts and creating communities for building connections” การขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล โลกาเทศาภิวัฒน์การรู้เท่าทันสื่อในบริบททางวัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ จัดขึ้น 2 วัน คือ…

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ร่วมฟังบรรยายพิเศษโดย Professor John Potter จาก University College London (UCL), UK ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย ReMAP (Researching Media, Arts, and Play)   จากหน่วยงาน UCL Knowledge Lab หรือศูนย์วิจัยที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาเพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล เทคโนโลยี และการศึกษา

ในหัวข้อ “Participatory Research on Media, Play, and Children’s Digital and Post Digital Lives”  การเรียนรู้ในวัฒนธรรมสื่อดิจิทัลของเด็กวัยรุ่นผ่านการเล่น  และคำถามสำคัญ: “เด็กและเยาวชนมอง ‘ดิจิทัล’ ในชีวิตของพวกเขาอย่างไร?”

โดยนำวิจัยเผยแพร่ในแง่มุม และบริบทหลากหลายมิติ อาทิ ประเด็นเกี่ยวกับ Media Cultures                              หรือวัฒนธรรมสื่อ การเล่นของเด็ก ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยใช้การวิจัยเข้ามามีส่วนช่วยให้เราเข้าใจประสบการณ์ของเด็กในการใช้สื่อ และร่วมเปิดมุมมองเรื่องทัศนคติ และการเล่นของเด็กใน ‘โลกดิจิทัล’ และ ‘AI’ รวมถึงงานวิจัยที่น่าสนใจอีกมากมาย

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 สัมมนาวิชาการด้าน Media Literacy ในหัวข้อ “Digital media literacy movement: glocalising media literacy in cultural contexts and creating communities for building connections” การขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล โลกาเทศาภิวัฒน์การรู้เท่าทันสื่อในบริบททางวัฒนธรรมและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เปิดพื้นที่ให้กับผู้ที่สนใจได้มาเรียนรู้ และสร้างความเข้าใจ   ด้าน Media Literacy ซึ่งปัจจุบันแพลตฟอร์มการสื่อสารเปลี่ยนผ่านไปสู่สื่อดิจิทัลที่มีความเปลี่ยนแปลง   และซับซ้อนมากขึ้น ทำให้เรื่อง “Media Literacy” เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะไม่ใช่แค่เท่าทันสื่อ แต่ “คน”  ต้องมีความสามารถ และมีความตระหนักรู้ และเข้าใจสื่อในทุกมิติ เพื่อให้เกิดการตื่นรู้ระดับบุคคล ไม่ใช่ระดับนโยบาย โดยได้เหล่าผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการทั้งในประเทศไทย ในระดับเอเชีย ยุโรป และอเมริกา มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงาน  ที่เข้มแข็งร่วมกันในอนาคต

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *