“ชมคลิป”เริ่มแล้ว เทศกาลกินข้าวใหม่ม้ง ประจำปี2567 บ้านป่าหวาย ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก

  1. เริ่มแล้ว เทศกาลกินข้าวใหม่ม้ง ประจำปี2567

ผู้สื่อข่าวรายงานจากพื้นที่
บ้านป่าหวาย ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ จ.ตาก

ทุกๆปี ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ที่อาศัยอยู่ใน อ.พบพระ จ.ตาก จะจัดงานประเพณี “กินข้าวใหม่ม้ง” ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลปีใหม่ให้ชาวม้งได้มีโอกาสมาพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักร่วมกัน โดยมีการแสดง การละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

สัมผัสเสน่ห์วัฒนธรรม ในงาน “กินข้าวใหม่ม้ง” ม่อนหมอกตะวัน บ้านป่าหวาย อ.พบพระ จ.ตาก

ชาวบ้านป่าหวาย พร้อมทั้งสมาชิกครอบครัว
ของกลุ่มผู้ประกอบการ การท่องเที่ยวและกลุ่ม
วิสากิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรม่อนหมอกตะวัน
จะร่วมกันเกี่ยวข้าวม้ง เพื่อมาประกอบการทำพิธี กินข้าวใหม่ม้ง กลุ่มแม่บ้านบ้านป่าคาใหม่ ยังได้ร่วมกัน ประกอบอาหาร เพื่อจัดเลี้ยง ต้อนรับผู้มาในงาน หุงข้าวใหม่ม้ง ทำต้มหมูพันปี ต้มไก่เสี่ยงทาย
ไก่ดังกล่าว ชาวบ้านได้รวบรวม กันมา ซึ่งเป็นไก่พื้นบ้าน ไก่ดำ ไก่พื้นเมืองที่ชาวบ้านเลี้ยงกันเอง เพื่อมาประกอบอาหาร และทำพิธีกรรม

ททท. ตาก ชวนสัมผัสวิถีวัฒนธรรมของชาวม้งในงาน ประเพณี “กินข้าวใหม่ม้ง”
ในงานยังมีกิจกรรม
การเกี่ยวข้าว การตีข้าว การคั่วข้าว การหุงข้าว และในงาน
โดยชาวบ้านได้นำข้าวเหนียว
หรือข้าวลืมผัว มาตำ หรือพิซซ่าม้ง “ข้าวเหนียวพันธุ์ลืมผัว” ซึ่งที่นี่ถือเป็นต้นกำเนิดข้าวพันธุ์ชนิดนี้อย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้มาลองลิ้มชิมรสแล้ว ยังมีโอกาสได้ศึกษาถึงที่มาของข้าวพันธุ์นี้ด้วยตนเองอีกด้วย…

น.ส. ธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก เป็นประธานในพิธีเปิดงานงานพิธี กินข้าวใหม่
และเปิดที่ทำการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ม่อนหมอกตะวัน

ในวันนี้ เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ เผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าให้คงอยู่ต่อไป เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น ของอำเภอพบพระให้คงอยู่สืบไป กิจกรรมในงานและเปิดที่ทำการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

งานพิธี กินข้าวใหม่ อันเป็นการเผยแพร่ประเพณีวัฒนธรรมของชนเผ่าให้คงอยู่ต่อไป เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของม่อนหมอกตะวันต่อไป
โดยมีการเปิดที่ทำการวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ม่อนหมอกตะวันอันจะเป็นความร่วมมือร่วมใจในการท่องเที่ยวอย่างรักษาสิ่งแวดล้อม และยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้มีการแสดงวิถีวัฒนธรรมจากกลุ่มแม่บ้านเจดีย์โค๊ะ แม่บ้านป่าหวาย น้องๆ โรงเรียนปาคาใหม่ รำแคน พี่น้องชนเผ่าม้งบ้านป่าหวาย

โดย.มีนายธันย์ปวัฒน์ภูริวัฒนเมธา นายอำเภอพบพระ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคีรีราษฎร์ กำนันตำบลคีรีราษฎร์ กำนันตำบลรวมไทยพัฒนา ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อำนวยการโรงเรียนปากกาใหม่ คณะครู และพี่น้องประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว

นายเฮ่อ แซ่กือ
ประธาน
วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรม่อนหมอกตะวัน
กล่าวว่า
โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมการกินข้าวใหม่ ของกลุ่มผู้ประกอบการ การท่องเที่ยวและกลุ่ม
วิสากิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรม่อนหมอกตะวันในวันนี้
ได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ในการจัดดังนี้
เพื่อเปิดที่ทำการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร ม่อนหมอกตะวัน
.เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง ที่มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการปลูกข้าว และการเกษตร เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงามของชนเผ่าม้งในการประกอบพิธีการกินข้าวใหม่ให้คงอยู่ต่อไป

นายนฤดม ฤทธิ์วัฒนกิจ
รองประธาน
วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรม่อนหมอกตะวัน
เล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า
สำหรับวิธีการปลูกข้าว
ช่วงเดือนมิถุนายนเป็นการเตรียมดิน กรกฎาคมเริ่มปลูกข้าว ซึ่งเป็นช่วงฤดูปลูกข้าวไร่
ที่ข้าวจะได้โตไวและได้ผลตามความต้องการ ปลูกได้ประมาณสัก 20-30 วัน มาทำหญ้า เพื่อไม่ให้ปกคลุมข้าว
หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน หรือ 3 เดือนกว่าๆแล้วแต่พื้นที่
เป็นช่วงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวใหม่
ช่วงเดือนตุลาคมนี้ เป็นช่วงที่ คนไทยเชื้อสายม้ง เริ่มเกี่ยวข้าวใหม่ มาตีข้าว เพื่อทำพิธีทำข้าวใหม่ม้ง ทำพิธีตามวัฒนธรรมและประเพณี

ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ได้ออกผลผลิตและทำการเก็บเกี่ยวแล้ว และจะต้องมีการเชิญผู้ที่ชาวม้งเคารพรักนับถือไปร่วมการสืบสานประเพณี “กินข้าวใหม่ ดื่มเหล้าเขาวัว” ในช่วงข้าวใหม่ออกผลผลิต ในช่วงที่เรียกว่า ปลายฝน ต้นหนาว ปลายเดือนตุลาคม-ต้นเดือนพฤศจิกายนของทุก ๆ ปี โดยผู้นำชาวม้งจะมีการนำข้าวใหม่ไปเชิญผู้ที่เคารพนับถือในท้องถิ่นหลายๆท่านเพื่อให้ไปร่วมงานประเพณีดังกล่าว
การสืบสานวัฒนธรรรมของชาวม้ง จะดำเนินการเป็นประจำทุกปี หลังการเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้การทำนาข้าวในปีต่อ ๆ ไปดี และมีผลผลิตผลงอกงามขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนการดื่มเหล้าเขาวัวนั้น ก็เพื่อให้ผู้ชายชาวม้งได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์กันหลังฤดูเก็บเกี่ยว และข้าวใหม่เริ่มออก การกินข้าวใหม่จะมีกับข้าว เช่น น่องไก่-หมู-เป็ด ประกอบการกินเพื่อเพิ่มความอร่อย จากนั้นก็จะมีการดื่มเหล้าเขาวัว ซึ่งการดื่มเหล้าเขาวัวนั้นตามประเพณีจะทำควบคู่กับกินข้าวใหม่ จะดื่ม 4 รอบ รอบแรก หมายถึง การร่วมโต๊ะ รอบที่ 2 เจ้าภาพแสดงการต้อนรับ รอบที่ 3 เข้าสู่ประเพณี รอบที่ 4 หมายถึงการผูกสัมพันธ์ไมตรีอันลึกซึ้ง โดยเจ้าภาพจะเป็นผู้รินเหล้าให้แขกดื่ม ชาวม้ง ถือว่าข้าวคืออาหารหลักในการดำรงชีวิต จึงมีการจัดประเพณีขึ้นเพื่อเรียกขวัญข้าว และเซ่นไหว้ขอบคุณบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ รวมทั้งเทวดาเจ้าที่เจ้าทางเพื่อปกป้องให้ลุกหลานอยู่เย็นเป็นสุขและปกปักรักษาพืชพันธุ์ที่ปลูกในรอบปีให้มีความอุดมสมบูรณ์ การกินข้าวใหม่นั้นจะมีการกินน่องไก่ เพื่อเสี่ยงทายโชคชะตาอีกด้วยเพื่อทำนายถึงความเป็นอยู่ของครอบครัว และพืชผลในปีต่อไป ส่วนผู้หญิงจะไม่ดื่มเหล้า ข้าวใหม่ที่นำมากินนั้นจะมีการเลือกข้าวที่ยังมีน้ำนมประมาณ 20% เก็บเกี่ยวพอประมาณเพื่อรับแขกที่มากินข้าวใหม่ ซึ่งต้องเป็นข้าวจากที่นาของตัวเอง

 

 

 

ชวลิต วิกุลชัยกิจ/รายงาน

ติดตามข่าวได้ที่เว็บไซต์
#คมชัด AEC TV ออนไลน์
#ข่าวนคร AEC TV ออนไลน์

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *