ทม.ร่วมเสวนาทิศทางการพัฒนาเมือง
เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ร่วมเวทีเสวนา “ทิศทางการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย” อัพเกรด Living Museum, ศูนย์ ICT และ ฐานงาน GIS เมืองแม่ฮ่องสอน
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.00 – 11.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ บริเวณ เวที Mini Stage นางสาวมัลลิกา จีนาคำ นายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน มอบหมายให้ นายกานต์ ปราณีตศีล รองนายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน เดินทางเข้าร่วมเวทีเสวนา “ทิศทางการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ประเทศไทย” ประเด็นวิสัยทัศน์ผู้นำเมือง : แนวความคิดเมืองแห่งการเรียนรู้มุ่งสู่เมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด เป็นงานเสวนาทิศทางการพัฒนาเมือง ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและนักวางแผนการพัฒนาเมือง มาให้มุมมองและแนวทางใหม่ๆ ในการสร้างและพัฒนาเมืองที่เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และนวัตกรรมในประเทศไทย
ในงาน “อว.แฟร์” มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม การศึกษาที่มีคุณภาพ ด้าน Soft Power ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัยมากกว่า 170 หน่วยงาน ครอบคลุมทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ทั้งนี้ ในเวทีเสวนา นายกานต์ ปราณีตศิลป์ รองนายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน ได้กล่าวถึงกรณีศึกษาของเมืองแม่ฮ่องสอน เมืองแห่งการเรียนรู้ ว่า “ ในแง่ของเมืองแม่ฮ่องสอน มีบริบทที่ค่อนข้างแตกต่างจากตัวจังหวัดฯ ในขณะที่หากเราพูดถึงเมืองแม่ฮ่องสอนในภาพรวม เราจะนึกถึงพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชาติพันธ์ุ ต่าง ๆ เหล่านั้น ฐานงานเดิมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะเป็นไปในแนวการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาด้านแรงงาน การเข้าถึงการศึกษา หรือแม้แต่งานเรื่องความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจริงๆแล้วงานในเชิงมหภาพมหภาพในระดับจังหวัดของจังหวัดแม่ฮ่องสอนยังขาด เราไปเน้นในเชิงการศึกษาในเชิงสังคมวิทยา เราไปเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ว่างานฐานเดิมในแง่ของความเหลื่อมล้ำ ในเชิงบริบทมหภาคทั้งจังหวัดยังค่อนข้างมีน้อย แต่ถ้ามาโฟกัสที่เมืองแม่ฮ่องสอน ฐานงานเดิมก็จะกระจุกตัวอยู่ในงานของสังคมวิทยา มนุษยวิทยา เป็นฐานงานเก่าที่ทรงพลังมาก จะเห็นได้ว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอนเรานั้นยากจนที่สุดก็จริง แต่หากดูในเรื่องของความสุขและความปลอดภัย จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความสุขและความปลอดภัยอยู่ในลำดับสูงระดับต้น ๆ เนื่องด้วยว่าเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ใจกลางของเมือง มีพฤติกรรมหรือมีคุณลักษณะโดยธรรมชาติเป็นเมืองศูนย์กลางของเกษตรกร เป็นเมืองศูนย์กลางเกษตรกรรมของทั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอน ทำให้พื้นที่ของเมืองแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีพื้นที่จริงๆ แล้วไม่ถึง 1% กลับมีผลิตภาพมวลรวมเกิน 25% ราวๆ 25%ของทั้งจังหวัด จึงทำให้คนเมืองแม่ฮ่องสอน จริงๆแล้วไม่ได้จน คนที่จนคือคนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นคนในชุมชนเกษตรนอกเมือง เมืองแม่ฮ่องสอนจึงค่อนข้างที่จะเป็นเมืองที่น่าอยู่ คนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางทางเศรษฐศาสตร์ และมีชีวิตอยู่ในเมืองที่มีฐานทางสิ่งแวดล้อมค่อนข้างดี ซึ่งเป็นบริบที่แตกต่างระหว่างเมืองแม่ฮ่องสอน กับจังหวัดแม่ฮ่องสอน พอเรามองในด้านเชิงสังคม เมืองแม่ฮ่องสอนนั้นมีฐานทางสังคมที่ค่อนข้างเข้มแข็ง มีส่วนร่วมทางสังคมค่อนข้างสูง แม้ว่าจะมีประชากรแฝงสูง แต่ปรากฎว่าประชากรในเมืองของเรา ทั้งที่เป็นประชากรท้องถิ่นและประชากรแฝง มีส่วนร่วมค่อนข้างสูง ในทุกงานของเทศบาล นี่คือข้อแตกต่าง งานที่โดดเด่นของเราในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างเช่นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต , Living Museum ซึ่งเมื่อสิบกว่าปีก่อนได้รับรางวัลระดับประเทศ เป็นการปลุกพลังทางสังคมขึ้นมาในช่วงนั้น เหมือนเป็นลักษณะของการเชื่อมต่อองค์ความรู้เดิมทั้งหมด ร้อยเรียงกันขึ้นมาและจัดเรียงอย่างเป็นระบบครั้งแรก และมีโครงการ Smart city การนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาเมืองแม่ฮ่องสอน และเมืองแม่ฮ่องสอนนั้น ยังขาดในเรื่องของงานพาณิชกรรม อุตสาหกรรม และการศึกษาในแนวนั้น…”
————————————-
ทศพล / แม่ฮ่องสอน 0850309987