#สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์เร่งแก้ไขหนี้สินสมาชิก#

#สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์เร่งแก้ไขหนี้สินสมาชิก#

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมชั้น 3 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ได้มาให้แนวทาง แก้ไขหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ ในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์จำกัด โดยมี คณะกรรมการสหกรณ์ พร้อม ผู้จัดการสหกรณ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาสหกรณ์ ด้านการเงินและร้านค้า กรมส่งเสริมสหกรณ์และเจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครสวรรค์ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมได้สรุปแนวทางในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์ คิดดอกเบี้ย เพียง 4.5% ซึ่งต่ำกว่าเพดาน (รวมทั้งกลุ่มสีแดงที่ต้องแก้ปัญหา ก็คิดดอกเบี้ยเพียง 4% ไม่มีเงินเฉลี่ยคืน)…
โดย สหกรณ์ฯ รับจะพิจารณาใช้ 5 มาตรการ ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ครบ คือ ยืดงวดชำระคืน และกำหนดค่างวดชำระคืนเฉพาะส่วนที่เกินทุนเรือนหุ้น (คิดดอกเบี้ยจากฐานเงินต้นเต็มตามยอดรวม) หากยังไม่พอ อาจจัด “เงินกู้พิเศษดอกเบี้ยรายปี” ไม่เกินทุนเรือนหุ้น เข้าแทน “เงินต้นเดิมดอกเบี้ยรายเดือน”

2. สหกรณ์ฯ เร่งลงนาม MOU กับ ธนาคารกรุงไทย ให้เข้ามา เสนอ “รวมหนี้/ลดดอก ปรับโครงสร้าง” แก่สมาชิกที่ยังไม่เกษียณ (เป็นไปตามนโยบายและวิธีการ มาตรฐานของธนาคาร) หาก สหรณ์ฯ พิจารณาว่ารายใด ที่ทำได้ดีกว่า ให้ สหกรณ์ฯ ดึงหนี้ที่ ธนาคารกรุงไทย จะรวม มาไว้ที่สหกรณ์
3. ขอให้ออมสิน ส่งทีมแก้ไขหนี้ ของนครสวรรค์ (เร่งด่วนที่สุด) มาทำงานกับ สหกรณ์คัดแยกสมาชิก ลูกหนี้รายที่ “สหกรณ์พอใจ” รับโอนหนี้มาที่ สหกรณ์(รับสิทธิ สภาพคล่องจาก ออมสิน ใน อัตราดอกเบี้ย 2.80% ขนาดวงเงิน เท่ากับจำนวนที่รับโอน × 2 เท่า) สหกรณ์สามารถนำสภาพคล่อง ดอกเบี้ยต่ำ จัดให้สมาชิก ที่เปราะบาง(และรายอื่น) กู้ เพื่อนำเงินไปคืนหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า เป็นประโยชน์ต่อการลดภาระของลูกหนี้ สหกรณ์ ก็ยังพอมีกำไรเพิ่ม จากส่วนต่างของดอกเบี้ย
สำหรับรายที่ไม่รับโอนมา
สหกรณ์ก็ขอให้ ธนาคารออมสินดูแล ปรับโครงสร้างหนี้เองอย่างดีที่สุด การชำระคืนร่วมกับ สหกรณ์และ ธนาคารกรุงไทยในกรอบ 70% ให้ได้

4. ประธาน คณะกรรมการแก้หนี้ (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) รับจะเจรจาลดดอกเบี้ย “เงินกู้บำเหน็จตกทอด” ที่ ธนาคารกรุงไทยผูกขาดดำเนินการอยู่ให้ลดดอกเบี้ยลงมา (ต้องต่ำกว่า 4.75%)
5. สมาชิกรายใด เมื่อดำเนินการข้างต้น แล้ว ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ให้ส่งปัญหา ไปยังสำนักงานแก้ไขหนี้ของ สพฐ. เพื่อหาแนวทางแก้ไข ด้วยทีมงานของ เลขานุการคณะกรรมการแก้ไขหนี้ต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *