ชาวบ้านเฮ ประธานสภาเกาะหลัก ยุติเรื่องเหมืองหินแกรนิตหาข้อเท็จจริงจากชาวบ้านก่อนเข้าสภาพิจารณาอีกครั้ง
วันที่ 24 มิถุนายน 2567 เวลา 09.30 น.ณ.องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหลักอำเภอเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายกิตติ นามบุญลืออายุ 45 ปีอยู่บ้านเลขที่ 21 หมู่ 7 บ้านหนองไม้แก่นตำบลเกาะหลักอำเภอเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตัวแทนชาวบ้านพร้อมด้วยชาวบ้านหมู่ 6 บ้านทุ่งเคล็ดชาวบ้านหมู่ 7หนองไม้แก่นตำบลเกาะหลักพร้อมด้วยชาวบ้านกว่า 200 คนร่วมชุมนุมหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหลักเพื่อคัดค้านการทำเหมืองหินแกรนิตของบริษัทอธิภ้ทร จำกัดในพื้นที่บ้านหนองไม้แก่นโดยมีการชูป้ายข้อความพวกเราไม่เอาเหมือนหินแกรนิตอธิภัทรจำกัด หน้าองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหลักสืบเนื่องมาจากมีการเสนอคณะกรรมการสภาท้องถิ่นขั้นตอนพิจารณาเรื่องคำขอประทานบัตรเลขที่ 1/2566 ของบริษัทเมืองหินอธิพถัทร จำกัด เข้าสภาเพื่อพิจารณา โดยทางสภาได้ให้ชาวบ้านชาวบ้านหมู่ 6 ทุ่งเคล็ดพร้อมด้วยชาวบ้านหมู่ 7 บ้านหนองไม้แก่นโดยทาง
อบต.ให้เข้าร่วมประชุมได้หมู่ละ 5 คน พร้อมด้วยอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ป่าไม้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เข้าร่วมฟังการพิจารณาในครั้งนี้โดยได้เก็บมือถือเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดก่อนเข้าห้องประชุม โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสภเมืองประจวบคีรีขันธ์คอยดูแลความสงบเรียบร้อยภายในองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหลักหลังการประชุมพิจารณาว่า 2 ชั่วโมง ก่อนได้ข้อยุติ
นายกิตติ นามบุญลือ ตัวแทนชาวบ้านหมู่ 6 ทุ่งเคล็คและหมู่ 7 บ้านหนองไม้แก่นได้กล่าวว่าในที่ประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหลักในครั้งนี้โดยมี นายเกรียงไกร เรืองทิพย์เป็นประภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหลัก เมื่อมีการสอบถามชี้แจงของตัวแทนชาวบ้านทั้ง 2 หมู่และเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ข้อสรุปคือให้หยุดยุติเรื่องนี้เอาไว้ก่อนทีอบต.และให้ชาวบ้านทำหนังสือในการคัดค้านและความเดือดร้อนผลกระทบอะไรบ้างและต้องออกมาตรวจสอบทั้งหมดทุกเรืองแล้วนำยื่นเรื่องกับประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหลัก โดยมีนายนราวิชญ์ กิตติพงศ์ธนกิจหัวหน้าสาขาพรรคก้าวไกลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ประสานด้านกรรมาธิการของเรื่องนี้จะนำทีมลงมาสำรวจหาข้อเท็จจริงร่วมกับชาวบ้านเพื่อช่วยเหลือความเดือดร้อนในเรื่องนี้
การรวมตัวคัดค้านครั้งนี้สืบเนื่องมาจากการศึกษาโดยภาพรวม ทราบว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างภายในประเทศนั้น ทรัพยากรแร่หินเพื่อการผลิตอุตสาหกรรมภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกยังคงเพียงพออีกหลายร้อยปี จึงไม่จำเป็นที่จะต้องดำเนินการเปิดเหมืองแร่แห่งใหม่เพื่อนำมาแปรรูป และจากการอนุญาตให้บริษัท อธิภัทร จำกัด เข้าสำรวจแร่หินในพื้นที่กว่า 733 ไร่ 3 งาน 63 ตารางวา โดยมีอธิบดีกรมอุตสาหกรรมอนุญาตให้เข้าสำรวจเมื่อปี 2564 นั้น มีเงื่อนไขข้อตกลง หลังเข้าแผ้วถางผืนป่าบางส่วน เพื่อเจาะสำรวจหาแร่บางชนิดในพื้นที่บ้านหนองไม้แก่นนั้น เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะต้องทำการฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับสภาพเดิม โดยจะไม่มีการรุกล้ำลำห้วย ทางสาธารณะ และพื้นที่ทำกินทางการเกษตรของชาวบ้าน แต่กลับไม่มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว และไม่มีการแจ้งประสงค์เพื่อประโยชน์ใด ซึ่งชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นการเจาะสำรวจค่าแร่ตามปกติ จึงไม่ติดใจ หากการกระทำเช่นนี้ มองว่าบริษัทไม่เห็นความทุกข์ร้อนของชาวบ้านที่มีอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก การทำประชาพิจารณ์ทั้งสองครั้ง เมื่อวันที่ 24 และ 25 เมษายนที่ผ่านมา
มีการคัดค้านและลงรายชื่ออย่างชัดเจน โดยมีผู้นำท้องที่ในพื้นที่และชาวบ้านนอกพื้นที่ไม่กี่ราย ที่เข้ามาลงชื่อเห็นด้วยกับการทำเหมืองหิน จากการที่ชาวบ้านส่วนใหญ่คัดค้านการทำเหมืองหินแกรนิตของบริษัทดังกล่าว โดยต่างชูป้ายข้อความพวกเราไม่เอาเหมืองหินและลงรายชื่อคัดค้านส่วนใหญ่ไม่เอา ก็น่าจะยุติการทำได้แล้ว ไม่เห็นหัวประชาชนในพื้นที่ หรือแม้จะกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำเพื่อใช้บริโภคก็ตาม.
พิสิษฐ์ รื่นเกษมข่าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โทร 064-364-1644 รายงาน….