จ.อุตรดิตถ์ ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอลับแล ไปสวนกลับมา พบซากปรักหักพัง ไม่เหลือแม้โครงบ้านที่เคยออยู่อาศัย

จ.อุตรดิตถ์ ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอลับแล ไปสวนกลับมา พบซากปรักหักพัง ไม่เหลือแม้โครงบ้านที่เคยออยู่อาศัย

วันที่ 4 พค.2567

นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์พร้อมด้วยนายภูริวัจน์ โชตินพรัตน์ นายอำเภอลับแล และเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ นายมานัส นาคหมู อายุ 63 ปี ซึ่งอาศัยอยู่บ้านนารี บ้านเลขที่ 95/4 หมู่ที่ 3 ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งถูกพายุฤดูร้อนพัดถล่มเมื่อช่วงเย็นวันที่ 3 พค.ที่ผ่าน ซึ่งบ้านได้ถูกลมพายุกระโชกจนพังได้รับความเสียหายทั้งหลัง และอุปกรณ์ของใช้ภายในบ้านตลอดถึงรถจักรยานยนต์ที่ใช้ขับในการประกอบอาชีพเกษตรพังเสียหายยับเยิน ทั้งนี้เพื่อเร่งให้ความช่วยเหลือ ซ่อมแซมบ้านให้อยู่อาศัยได้ต่อไป โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.ลับแล เจ้าหน้าที่จากสาธารณสุข อำเภอลับแล เจ้าหน้าที่จาก อบต.ฝายหลวง เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฝายหลวง ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ตำบลฝายหลวง ร่วมให้การต้อนรับพร้อมลงพื้นที่ออกเยี่ยมให้กำลังใจผู้ประสบภัยในครั้งนึ้

ทางด้านนายมานัส นาคหมู เจ้าของบ้านที่ได้รับความเสียหาย เล่าว่า ขณะที่ตนเองไปรดน้ำที่สวนทุเรียนซึ่งต้องขับรถขึ้นไปบนดอยหลายกิโล ในช่วงค่ำระหว่างรดน้ำทุเรียนเกิดฝนตกหนัก ลมพายุแรงมาก ประกอบกับมีเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่าอยู่ตลอด จนเกิดไฟฟ้าดับในหลายๆพื้นที่ตนเองจึงตัดสินใจนอนที่กระท่อมภายในสวนทุเรียน เพราะห่างเดินทางกลับคงไม่ปลอดภัย ซึ่งในขณะนั้นเป็นเวลาที่มืดค่ำแถมยังมีพายุฝนลมกันโชกแรงอย่างมาก  และไฟฟ้าก็ดับอีกด้วย จึงตัดสินใจนอที่กระท่อมที่อยู่ภายในสวนทุเรียน พอถึงช่วงเช้าหลานของวันที่ 4 พค.หลานชายได้ขับรถจักรยานยนต์มาบอกว่า เมื่อคืนลมพายุพัดบ้านจนพังแล้วให้รีบกลับบ้านด่วน ตนตกใจมากจึงรีบเดินทางกลับบ้านโดยทันที และก็ได้พบแต่ซากปรักหักพัง ไม่เหลือโค้งเค้าบ้านที่ตนอยู่ไว้เลย

ในขณะที่ นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีคำสั่งการ ในการแก้ไขปัญหา จากการเกิด พายุลมแรง ฝนฟ้าคะนอง จนทำให้เกิด ความเสียหายในวงกว้าง ในช่วงที่ผ่านมา
ตามที่ได้เกิดสถานการณ์พายุฤดูร้อน และลมกระโชกแรง ขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลาประมาณ 16.30 น. ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือน สถานที่ราชการ วัด โรงพยาบาล พืชผลทางการเกษตร เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน
จึงให้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอที่ประสบภัย ดำเนินการ ดังนี้
1. เร่งสำรวจความเสียหายในพื้นที่และรายงานในแบบรายงานเหตุด่วนสาธารณภัย ไปยัง สนง.ปภ.อต ภายในวันที่ 4 พค 67
เพื่อประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
2. เตรียมความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักรกล กำลังพลพร้อมให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อได้รับการร้องขอ

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *