คนหลั่งไหลไม่ขาดสายปีใหม่ไทย2567

คนหลั่งไหลไม่ขาดสายปีใหม่ไทย2567

พระครูวินัยสาทร(ถวิล ถาวโร)
เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดพระแท่นศิลาอาสน์ พระอารามหลวง จัดประเพณีสงกรานต์ ปีใหม่ไทย2567
ในช่วงสงกรานต์ ประชาชนหลายจังหวัดภาคเหนือเริ่มเดินทางกลับในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์แล้ว จ.อุตรดิตถ์เป็นทางผ่านที่หลายท่านต้องเดินทาง วัดพระแท่นเป็นวัดหนึ่งที่หลายท่านเข้ามากราบขอพรขอบารมีสิ่งศักดิ์เพื่อเป็นศิริมงคลไม่ขาดสายเช่นกันวัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล

 

จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ. 2283 ได้แสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้ว จนเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง และทางราชการได้นำพระแท่นศิลาอาสน์ไปประดิษฐานไว้ในตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แสดงถึงความศรัทธาเลื่อมใสและความสำคัญขององค์พระแท่นศิลาอาสน์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันวัด

 

พระแท่นศิลาอาสน์ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี สังกัดธรรมยุตินิกาย เมื่อปี พ.ศ. 2549
พระแท่นศิลาอาสน์เป็นพุทธเจดีย์ เช่นเดียวกับพระแท่นดงรัง เป็นที่เชื่อกันมาแต่โบราณว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปนี้ ได้เสด็จและจะได้เสด็จมาประทับนั่งบนพระแท่นแห่งนี้ เพื่อเจริญภาวนา และได้ประทับยับยั้งในเวลาที่ตรัสรู้แล้ว เพื่อโปรดสัตว์ ซึ่งแสดงว่าพระแท่นศิลาอาสน์นี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างต่อเนื่อง ในพระพุทธศาสนามายาวนาน ตัวพระแท่นเป็นศิลาแลง มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 8 ฟุต ยาวประมาณ 10 ฟุต สูง 3 ฟุต ที่ฐานพระแท่นประดับด้วยลายกลีบบัวโดยรอบ มีพระมณฑป ศิลปะเชียงแสนครอบ อยู่ภายในพระวิหาร


ซึ่งวันนี้ทางวัดจัดให้มีการก่อเจดีย์ทรายประเพณีดั้งเดิมของไทย สืบสานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นพร้อมกับวันสงกรานต์ โดยมีจุดเริ่มต้นเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน ปัจจุบันประเพณีก่อเจดีย์ทรายไม่เพียงแต่จัดขึ้นเพื่อทำบุญใหญ่ แต่นิยมจัดขึ้นโดยเน้นเพื่อการเฉลิมฉลอง เพิ่มสีสันให้ช่วงเทศกาลวันสงกรานต์แทนความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีก่อเจดีย์ทราย
นอกจากความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนา ยังพบว่า มีตำนานความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีก่อเจดีย์ทราย สงกรานต์จากคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถี ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและเผอิญเห็นหาดทรายมีสีขาวบริสุทธิ์ จึงเกิดความศรัทธา ก่อทรายเป็นเจดีย์ทราย 84,000 กอง ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ถวาย โดยเชื่อว่าเป็นบุญใหญ่ จึงถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา

รายงาน: นายภากร แหลมหลัก ทีมข่าวอุตรดิตถ์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *