กรมชลประทาน เผยผลการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย และโครงการท่าล้อ-อู่ทอง มุ่งหวังปรับปรุงระบบส่งน้ำ-ระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งน้ำให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม

กรมชลประทาน เผยผลการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย และโครงการท่าล้อ-อู่ทอง มุ่งหวังปรับปรุงระบบส่งน้ำ-ระบายน้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งน้ำให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเป็นธรรม

 

วันนี้ (28 มีนาคม 2567) นายศักดิ์ชาย เทพคำอ้าย หัวหน้าฝ่ายออกแบบระบบชลประทานที่ 5 ผู้แทนกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังการประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการ เวทีที่ 4 (พื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครชุม โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดำเนินสะดวก) โครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย ณ หอประชุมอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โดยได้รับเกียรติจาก นายศุภชัย ครุฑดำ นายอำเภอโพธาราม เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้น้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ราว 180 คน

ผู้แทนกรมชลประทาน เปิดเผยว่าโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย
ซึ่งมี 8 โครงการ และโครงการท่าล้อ-อู่ทอง มีการรับฟังความคิดเห็นตลอดระยะเวลาการศึกษารวม 4 ครั้ง ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 4 เวทีที่ 4 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาโครงการ พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ผลจากการศึกษาความเหมาะสมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครชุม เสนอให้กรมชลประทานดำเนินการปรับปรุงระบบส่งน้ำ จำนวน 12 คลอง ปรับปรุงระบบระบายน้ำ จำนวน 6 คลอง ปรับปรุงระบบส่งน้ำและระบายน้ำ จำนวน 5 คลอง ใช้งบประมาณ 669 ล้านบาท ระยะเวลาในการดำเนินงาน 10 ปี


การปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาราชบุรีฝั่งซ้าย ประกอบด้วย การปรับปรุงระบบส่งน้ำ จำนวน 5 คลอง การปรับปรุงระบบระบายน้ำ จำนวน 1 คลอง ก่อสร้างสถานีสูบน้ำ เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองเข้าสู่คลองระบายน้ำในพื้นที่โครงการ จำนวน 5 แห่ง ใช้งบประมาณ 2,665 ล้านบาท ระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี
และการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดำเนินสะดวก ประกอบด้วย การปรับปรุงระบบส่งน้ำและระบายน้ำ จำนวน 5 คลอง ใช้งบประมาณ 75 ล้านบาท ระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 ปี

“กรมชลประทานจะนำผลการศึกษาไปดำเนินการต่อในขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดและการก่อสร้าง เพื่อให้การส่งน้ำและระบายน้ำในพื้นที่ชลประทานมีประสิทธิภาพสูงสุด เกษตรกรได้รับน้ำอย่างทั่วถึง มีรายได้ที่มั่นคง และคุณภาพชีวิตที่ดี” ` ผู้แทนกรมชลประทานกล่าว`.
ประวิทย์

 

ลิ้มเจริญ/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *