#อุตดิตถ์ เปิดโครงการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ=มีคลิป

จ.อุตดิตถ์ เปิดโครงการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
วันที่ 20กันยายน 2566

ณ ห้องบอลรูม โรงแรมสีหราช อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
นายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการ ผู้อุปการะคนพิการ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ช่วยเหลือคนพิการ (อพมก.) องค์กรคนพิการ ผู้ช่วยคนพิการ เครือข่ายด้านคนพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

นางสาวกริสนา พลชา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า
จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันมีคนพิการที่จดทะเบียนคนพิการ จำนวน 22,515 คน รับเบี้ยยังชีพคนพิการ จำนวน 20,835 คน จัดตั้งศูนย์บริการ
คนพิการทั่วไป จำนวน 66 แห่ง ผู้ช่วยดูแลคนพิการ จำนวน 55 คน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เชี่ยวชาญด้านคนพิการ
(อพมก.) จำนวน 473 คน และได้มีสวัสดิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ จำนวน 136 หลัง เป็นเงินทั้งสิ้น 54,000,000บาท และให้บริการเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพคนพิการ จำนวน 1,561 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น74,602,500บาท ส่วนใหญ่กู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไปเป็นทุนประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ค้าขายงานช่างและบริการ ซึ่งเป็นการให้สวัสดิการคนพิการจังหวัดอุตรดิตถ์ ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้ง 9 อำเภอ อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยองค์กรผู้นำ และเครือข่ายทุกระดับ มีศักยภาพความเข้มแข็ง สามารถส่งเสริมคุ้มครองสิทธิของคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบการบริหารจัดการด้านคนพิการ มีการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) จังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมหาวิยาลัยราชภัฏจังหวัดอุตรดิตถ์ วิทยาลัยเทคนิคจังหวัดอุตรดิตถ์ จัดหางานจังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานอุตรดิตถ์ และองค์กรอื่นได้มีส่วนร่วมในการจัดบูธนิทรรศการ และการบูรณางานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เพิ่มช่องทางการตลาด และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ โดยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คนพิการ ผู้ดูแลคนพิการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เชี่ยวชาญด้านคนพิการ (อพมก.)องค์กรคนพิการ ผู้ช่วยดูแลคนพิการ เครือข่ายด้านคนพิการ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 250 คน

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *