ททท.ตาก ระดมขอความคิดเห็นชุมชน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวอุ้มผางเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
วันที่ 15 กันยายน 2566
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มีเป้าหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างสมดุลในระบบนิเวศ เศรษฐกิจ สังคม ชุมชน ให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อให้ ภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่มีเป้าหมายเดียวกันในการยกระดับการส่งเสริมและพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ความยั่งยืน และจำเป็นต้องมีการส่งเสริม และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในการประชุมนี้เป็นการถอดบทเรียนในรูปแบบชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ จากประสบการณ์จริง ระหว่างบุคลากร ททท. กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภออุ้มผาง เพื่อที่จะนำความรู้ไปใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่อย่างแท้จริง เพื่อให้เห็นบทบาทการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างคุณค่าชุมชนท่องเที่ยว ให้ผู้เยี่ยมเยือนตระหนักถึงความสำคัญต่อการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบในพื้นที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก เนื่องจากอุ้มผางเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับรางวัล PATA Gold Awards ในด้านการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยใช้หลักการบริหารจัดการบนฐานขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ (Carrying Capacity: CC) ดังนั้น ททท. จึงได้จัดกิจกรรม
KM สัญจร…ร่วมสร้างเส้นทางสู่ความยั่งยืน 🏡 โดย
นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานตาก และ นางสาวสายพโยม สมสุข ผู้อำนวยการกองพัฒนาบุคคล ร่วมจัดกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice : CoP) โดยได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสำคัญในพื้นที่ อุ้มผาง จังหวัดตาก ได้แก่
นายสเดชชัย สุวรรณจันทร์ นายกเทศมนตรีตำบลอุ้มผาง และรองนายกเทศมนตรี และคณะ
ปลัดอำเภออุ้มผาง ผู้แทนนายอำเภออุ้มผาง
ผู้แทนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง
คุณบรรพต ก่อเกียรติเจริญที่ปรึกษาประธานหอการค้าจังหวัดตาก นายชัยรัตน์ วิเชียร เลขาธิการหอการค้าจังหวัดตาก
ร.ต.อ.สมบัติ พันธุ์ณรงค์ (ผู้กองแดง) นายกสมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือ จังหวัดตาก
นายภูมิรวิชญ์ โชติธนวัฒน์ชัย ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์อุ้มผาง
ผู้แทนโรงพยาบาลอุ้มผาง
ผู้ประกอบการอุ้มผางบุรี รีสอร์ท
ผู้ประกอบการตูกะสู รีสอร์ท
📜 ถอดบทเรียนในหัวข้อ
“แนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงาน /โครงการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ” เพื่อให้เห็นบทบาทการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สู่การสร้างคุณค่าชุมชนท่องเที่ยวให้ผู้เยี่ยมเยือนตระหนักถึงความสำคัญต่อการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ภายใต้โครงการ