พิสิษฐ์รื่นเกษมข่าวประจวบคีรีขันธ์โทร0993396444
ทีมประสานงาน Thailand Bigmove จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเวทีหา รือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หนุนเสริมศักยภาพคนไทยเพื่อเอาชนะภัยบนท้องถนน” เวทีหลังสงกรานต์
เมื่อเวลา 15:00 น.วันที่ 1 พฤษภาคม 2562 นายเลิศยศ แย้มพราย นายอำเภอบางสะพาน ให้เกียรติมาเป็นประธานในเวทีหารือ โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 25 คน จากหลากหลายภาคส่วน อาทิ ผกก.สภ.บางสะพาน และ ผกก.สภ.ธงชัย,, ตำรวจทางหลวง, แขวงทางหลวง, หมวด ทล.บางสะพาน, หมวด ทล.ชนบท, เจ้าหน้าที่กู้ชีพ กู้ภัย, อปท., กำนันในพื้นที่, ภาคประชาชน, ตัวแทนจากสื่อสารมวลชน, ตัวแทนจากอำเภอเมือง
ซึ่งภายในเวทีได้มีกาสรุปภาพรวมของ 7 วันอันตราย ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และของอำเภอบางสะพาน ซึ่งสถิติการเกิดเหตุในพื้นที่ มีทั้งสิ้น 14 ครั้ง เพิ่มขึ้นจาก 10 ครั้งเมื่อปีที่ผ่านมา, ผู้บาดเจ็บ 14 ราย เพิ่มขึ้นจาก 9 ราย แต่จำนวนผู้เสียชีวิต เป็น 0 จากปีที่ผ่านมา 3 ราย ซึ่งมีการถอดบทเรียนจากความสำเร็จของการลดจำนวนผู้เสียชีวิต โดยเฉพาะบนถนนเพชรเกษมที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากภาคกลางเพื่อไปยัง 14 จังหวัดในภาคใต้ โดยในปีนี้มีข้อน่าสังเกตุที่ช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตของจังหวัดประจวบฯ จาก 10 รายเมื่อปี 2561 เหลือเพียงแค่ 2 ราย หรือลดลงไปกว่า 80% ซึ่งทาง ผกก.สภ.บางสะพานเปิดเผยว่า ส่วนหนึ่งมาจากข้อสังการจาก พล.ต.ต.สุรศักดิ์ สุขแสวง ผู้บัญชาการ ภ.จว.ประจวบฯ ที่เน้นย้ำในการจับกุมผู้กระทำผิดกฎจราจร รวมถึงสิ่งสำคัญคือการป้องกันปัญหาหลับในจากการเดินทางในระยะทางไกลๆ โดยรวมมือกับ จนท.อาสากู้ภัย ทล. และตำรวจในพื้นที่ในการดูแลเปิดไฟไซเรนท์ ในบริเวณจุดกลับรถทุกจุด เพื่อลดอาการหลับในบนถนนเพชรเกษม และให้มีรถสายตรวจเปิดไฟสัญญาณวิ่งตรวจตราบนถนนเพชรเกษมตลอด 24 ชม. เพื่อดูแลผู้ใช้รถใช้ถนน และบริเวณแยกที่มีสัญญาณไฟจราจรให้ปล่อยรถตามจังหวะสัญญาณไฟปกติ ห้ามปล่อยให้รถวิ่งยาวๆ ถึงเเม้จะส่งผลในแง่ของความแออัดในการจราจรในบางจุดแต่ก็จะสามารถป้องกันอุบัติเหตุจากการหลับในที่เกิดจากการวิ่งทางตรงยาวๆโดยไม่มีการพักสายตาได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีส่วนช่วยให้สถิติผู้เสียชีวิตลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
ประเด็นต่อมาที่พูดถึงในที่ประชุมคือ การกำหนดมาตรการในการลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ อ.บางสะพาน โดนเฉพาะถนนเส้น เพขรเกษม-ชายทะเล ระยะทางกว่า 11 กม. ที่มักจะเกิดเหตุบริเวณจุดตัดทางแยก โดยส่วนหนึ่งมาจากทัศนวิสัยในการมองเห็นจากรถและร้านค้าบริเวณหน้าปากทาง ที่จอดบดบัง โดยที่ประชุมเห็นควรจะกำหนดมาตราการร่วมกันระหว่าง จนท.ทล., จนท.ตำรวจ, ผู้นำชุมชน และ อปท. ในพื้นที่ ในการกำหนดให้บริเวณหน้าปากทางทุกเเห่งเป็นเขตห้ามจอดในระยะสายตามองเห็น (10 เมตร) ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของปากทางที่เชื่อมกับถนนหลัก ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันในหลักการดังกล่าว และจะให้ จนท.ทล. หามาตรการในการทาสีขาวแดง(ในกรณีที่เป็นฟุตปาธ) หรือนำป้ายห้ามจอดมาติด ควบคู่ไปกับการทำความเข้าใจก้บทุกชุมชนให้ปฎิบัติตามผ่านเวทีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน โดยให้เวลาในการประชาสัมพันธ์ประมาณ 2 เดือนก่อนจะให้ทาง จนท.ตำรวจบังคับใช้กฎำหมายอย่างจริงจัง เพื่อเป็นการลดแรงต่อต้านจากชาวบ้านซึ่งเรื่องดังกล่าวจะมีการชงเรื่องขึ้นสู่คณะอนุกรรมการติดตามแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรในพื้นที่ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม ศปถ.จังหวัด เพื่อทำเป็นถนนต้นแบบด้านความปลอดภัยจากจุดตัดจุดแยก
รวมไปถึงบริเวณถนนหน้า รพ.บางสะพาน ที่มีร้านค้า ร้านอาหารแผงลอยตั้งอยู่บนเขตของทางหลวง จะมีการขอคืนพื้นที่ฟุตปาธ ทั้งหมดตลอดทั้งเส้น (หลังแนวเสาไฟฟ้า 2.6 เมตร) ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการจัดระเบียบร้านค้า และเพื่อเเก้ไขปัญหาจราจรจากการจอดรถที่ผิดกฎจราจร(จอดทแยง ทำให้ท้ายรถโผล่เข้ามาในเลนส์วิ่งรถปกติ) ซึ่งเป็นหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุขึ้น โดย จนท.ทล.จะเป็นผู้ติดประกาศขอคืนพื้นที่ทั้งหมดตลอดเส้นเพชรเกษม-ชายทะเล โดยจะมีการทำหนังสือส่งผ่านมายังนายอำเภอเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและ อปท. เพื่อนำไปติดประกาศแจ้งให้ร้านค้าที่รุกล้ำที่ของกรมทางฯดำเนินการปรับปรุงแก้ไขโดยมีกำหนดให้ระยะเวลาปรับปรุงแก้ไข 60 วัน หากไม่ดำเนินการ ทางเจ้าหน้าที่ทางหลวงจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ปกครองอำเภอบางสะพาน, จนท.ตำรวจ, ทหาร และ อปท. ดำเนินการขอคืนพื้นที่ พร้อมดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ฝ่าฝืน (ดังเช่นที่เคยทำสำเร็จกับบรรดาแผงสัปปะรดในเขตอำเภอเมือง) ซึ่งทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันในหลักการดังกล่าว
และในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลผ่านแอพลิเคชั่น Geo-Item ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียกใช้ข้อมูลสถิติในอนาคต ซึ่งในช่วง 7 วันอันตรายที่ผ่านมา ทั้ง 4 หน่วยงานกู้ชีพ/กู้ภัย ได้ทดลองใช้งานจริง โดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจโดยมีข้อปัญหาที่ติดขัดอยู่บ้างจากการใช้งาน แต่ได้มีการตั้งกลุ่มไลน์เฉพาะขึ้นเพื่อแจ้งสะท้อนปัญหาไปยังผู้ดูแลและพัฒนาแอพลิเคชั่น ซึ่งทุกหน่วยงานพร้อมจะใช้งานต่อเนื่องหลังจาก 7 วันอันตราย เพื่อเป็นต้นแบบด้านการจัดเก็บข้อมูล